ความรู้เชิงบูรณาการในระบบการท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาคำอธิบายศาสตร์พิเศษเฉพาะทางของการท่องเที่ยวในกรอบของระบบการท่องเที่ยวที่เริ่มต้นจากมโนทัศน์ทางปรัชญา 2 เรื่อง คือ “ภววิทยา” หรือ ธรรมชาติแห่งความเป็นจริง และ “ญาณวิทยา” หรือ แนวทางการแสวงหาความรู้ ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นของ “ศาสตร์แข็ง” และ “ศาสตร์อ่อน” ที่ขยายศาสตร์ออกมาเป็นหลายสาขา/สาขาวิชา และ จากการประกาศใช้ “มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ. 2553” ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทำให้สถาบันการศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนสาขาวิชานี้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามยังมีคำถามถึงลักษณะทางวิชาการที่ชัดเจนของศาสตร์การท่องเที่ยวที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุปสงค์และอุปทานในระบบการท่องเที่ยว จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรม พบว่า ศาสตร์การท่องเที่ยวเป็นศาสตร์พิเศษเฉพาะทาง ที่ใช้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีจากศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ ด้านมนุษยศาสตร์และศิลปะด้านความรู้พื้นเมือง/พื้นถิ่น ความรู้ที่ใช้คุณค่าเป็นฐาน และความรู้ที่มีปัญหาเป็นศูนย์กลาง มาสังเคราะห์และบูรณาการแนวคิดที่ได้ใหม่ให้เข้ากับบริบทของพื้นที่ ๆ ศึกษาวิจัย สำรวจและทดลองให้ได้คำตอบที่เป็นความรู้ใหม่ ๆ ในศาสตร์การท่องเที่ยวที่สามารถนำไปส่งเสริมและพัฒนาอุปสงค์อุปทานการท่องเที่ยว หรือเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมีความเข้มแข็งและทันสมัยมากยิ่งขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed). Sydney: Hodder Education.
Office of the Permanent secretary for Higher Education, Science, Research and Innovation. (n.d.). Total Qualification Framework for Bachelor Degree in Tourism and Hotel B.E. 2553 Program. Bangkok: Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. [in Thai]
Palakavongse Na Ayuthya, P., & Pimonsompong, C. (2017). The development of professional standards for hotel employees in Thailand. Journal of Southern Technology, 10(2), 1-8. [in Thai]
Phothisita, C. (2019). Science and art, Qualitative Research: Student and Researcher Guide to Social Sciences (8th Printing). Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. [in Thai]
Pimonsompong, C. (2023a). Tourism system: becoming an industry. Journal of Southern Technology, 16(1), 135-148. [in Thai]
Pimonsompong, C. (2023b). Tourism system: driving through hospitality. Journal of Southern Technology, 16(2), 119-129. [in Thai]
Pritchard, A., Morgan, N., & Ateljevic, I. (2011). Hopeful tourism: A new transformative perspective. Annal of Tourism Research, 38(3), 941-963. [in Thai]
Trachoo, T. (2015). The Approach for Maintaining the Major Existing International Tourist Market of Thailand: Case Study Japanist Market (Master’s Thesis). Naresuan University, Phitsanulok Province. [in Thai]
Trachoo, T., & Pimonsompong, C. (2021). The development of adaptability competence of Thai tour business to respond tourism demand in digital age. Journal of Southern Technology, 14(1), 14-23. [in Thai]
Tribe, J., & Liburd, J.J. (2016). The tourism knowledge system. Annals of Tourism Research, Elsevier, 57, 44-61. [in Thai]