การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับควาญช้างข้ามพื้นที่/วัฒนธรรมภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

Main Article Content

Sommai Chinnak
Kanjana Chinnak

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาว่า ภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่ใช้ช้างเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวนั้น สัมพันธ์กับเครือข่ายควาญช้างข้ามพื้นที่/ข้ามวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง โดยอาศัยข้อมูลเชิงสำรวจจากโครงการวิจัยเรื่อง Socio-economic profile of Thai mahouts in Thai tourism industry กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ควาญช้างสัญชาติพม่าและเครือข่ายควาญช้างชาวกวยในปางช้างจังหวัดชลบุรี


ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่มาพร้อมกับภาวะความเป็นสมัยใหม่นั้น ได้ก่อให้เกิดเครือข่ายควาญช้างแบบใหม่ที่แตกต่างจากเครือข่ายควาญช้างยุคจารีต กล่าวคือในยุคจารีต เครือข่ายควาญช้างจะเป็นเครือข่ายควาญช้างระดับท้องถิ่น และเป็นเครือข่ายแบบปิดที่จำกัดอยู่ภายในกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสายตระกูลหรือกลุ่มชาติพันธุ์ หากแต่เครือข่ายควาญช้างรุ่นใหม่หรือหลังยุคจารีตนั้นจะเป็นเครือข่ายแบบเปิดที่ไม่จำกัดอยู่เพียงระดับท้องถิ่น ภายในกลุ่มสายตระกูลหรือกลุ่มชาติพันธุ์ หากแต่เป็นเครือข่ายข้ามพื้นที่/ข้ามวัฒนธรรม เพราะเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มควาญช้างที่เป็นแรงงานต่างชาติด้วย ขณะที่กลุ่มควาญช้างรุ่นใหม่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เป็นควาญช้างแบบจารีต ก็กลายเป็นกลุ่มคนที่ต้องอพยพมีชีวิตเร่ร่อนแบบสมัยใหม่ โดยการละทิ้งถิ่นฐานไปตามเส้นทางของธุรกิจปางช้างทั้งในเมืองท่องเที่ยวสำคัญเพื่อการเลี้ยงชีพ พร้อมๆ กับเป็นผู้ธำรงอัตลักษณ์ความเป็นคนเลี้ยงช้าง

Article Details

How to Cite
Chinnak, S., & Chinnak, K. (2019). การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับควาญช้างข้ามพื้นที่/วัฒนธรรมภายใต้บริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 31(1), 46–79. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/171243
บท
บทความวิชาการ

References

Komartra Chengsatiansup, Living on the Edge: Marginality and Contestation in the Kui Communities of Northeast Thailand. Ph.D. thesis, Harvard University, 1998.

Rita Ringis, Elephants of Thailand in the Myth, Art, and Reality. New York: Oxford University Press, 1996.

กรมศิลปากร. พระคเณศ ของเสถียรโกเศศและนาคะประทีป และเรื่องพระคเณศที่เกี่ยวกับช้าง ของอายัณโฆษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548.

กังสดาล กนกหงส์, “การศึกษาสถานภาพควาญและช้างเลี้ยง: ศึกษาเฉพาะกรณีควาญและช้างเลี้ยงที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิช้างแห่งประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544.

โครงการสืบสานมรดกไทย, ช้างราชพาหนะ. กรุงเทพฯ: สตาร์ปริ้นท์ จำกัด, 2542.

ทองใบ ศรีสมบัติ. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างและการประกอบอาชีพเลี้ยงช้างของหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2535.

นิตยสารสารอนุสาร อ.ส.ท., ลัดดาแลนด์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2513) หน้า 75.

เน (Nay) ควาญช้างสัญชาติพม่าจากเมาะลำไย วัย 36 ปี (สัมภาษณ์, 6 ธันวาคม 2560)

เภา บุญเยี่ยม และ ภารดี มหาขันธ์, “ปะคำ: วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนเลี้ยงช้างภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม” ใน วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 41 (มกราคม-เมษายน 2558) หน้า 91-111.

รักษพล สกุลวัฒนา. คนเลี้ยงช้างชาวไทยกวยจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.

รุจิพันธ์ ดอกงา, “การคล้องช้างของชนเผ่าส่วย” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี). คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2512.

สมหมาย ชินนาค, “ผีปะกำ: คติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชาวไทย-กวย (ส่วย) เลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์” วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.

สยาม อรุณศรีมรกต “วิถีชีวิตของควาญและช้างเร่ร่อนในเมือง” ใน Journal of Community Development Research 2010; 3(1) : 85-98.

สีมา สมานมิตร “ทุ่ง ป่า และภู เพื่อล่าโพนช้างของสมเด็จพระนารายณ์” ใน ศิลปวัฒนธรรม (กุมภาพันธ์ 2548) อ้างใน https://www.silpa-mag.com/history/article_10553 (เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 5 เมษายน 2562)