ปรากฎการณ์ "ข้าวโพดรุกป่า" กับข้อเสนอการจัดการที่ดินทำกินบนพื้นที่สูงในเขตป่าภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอให้เห็นถึงความซับซ้อนของปัญหาการจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงของภาคเหนือภายใต้บริบทของปรากฏการณ์ “ข้าวโพดรุกป่า” และบริบทการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่อาศัยแนวคิดสิทธิชุมชนเป็นเครื่องมือต่อรองการจัดการที่ดินในแนวเขตป่า ผ่านกรณีศึกษาชุมชนปกาเกอะญอบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของวิถีการผลิตวิถี การบริโภคในระบบเศรษฐกิจ เงินตราที่สัมพันธ์กับสิทธิในที่ดินทำกินบนพื้นที่สูงที่นำมาสู่ข้อเสนอการจัดการทรัพยากรร่วมอันเกิดจากการผลักดันของชาวบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชาวบ้านผู้ปลูกข้าวโพดในที่ดินไร้เอกสารสิทธิ์กับหน่วยงานรัฐ และแสดงให้เห็นเงื่อนไขสำคัญว่ามีการขยายตัวการปลูกข้าวโพดเข้าไปในพื้นที่ป่าได้อย่างไร โดยใช้แนวคิดสำคัญในการวิเคราะห์ได้แก่ เครือข่ายการผลิตในระบบลูกไร่แบบไม่เป็นทางการ และแนวคิดการจัดการทรัพยากรร่วมบนพื้นที่สูง
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์
References
จามะรี เชียงทอง. 2557. “ทบทวนกรอบคิดเรื่องระบบอุปถัมภ์และความสำคัญของคนกลางทางการเมืองและเศรษฐกิจในการศึกษาชนบท,” สังคมศาสตร์ 26(2):59-92.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2553. การเป็นสมัยใหม่ กับแนวคิดชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์.
เบ็ญจา จิรภัทรพิมล และสารณีย์ ไทยานันท์. 2530. ผลกระทบของการพัฒนาต่อสังคมชาวเขา: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาพัฒนาสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยากร เชียงกูล. 2526. การพัฒนาทุนนิยมในประเทศไทย ศึกษาในกรณีสังคมเกษตรกรรมภาคกลาง พ.ศ.2503-2523. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ต้นหมาก.
สุรพล นิศากรเกรียงเดช และณรงค์ เจษฎาพันธ์. 2532. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่แจ่ม:การเร่งรัดเพิ่มผลผลิตพืชไร่-พืชสวน 2525-2530. เชียงใหม่: สำนักงานเกษตรภาคเหนือ.
อนุภาพ นุ่นส่ง. 2557. 5 ทศวรรษความเปลี่ยนแปลงในชนบทภาคเหนือ ศึกษาการจัดการสมบัติชุมชนและหย่อมบ้าน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2500-2550.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
เอมอร อังสุรัตน์ และคณะ. 2555. สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตข้าวโพดไทยกับความมั่นคงด้านอาหารสัตว์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.