บ้านเวียงเชียงใหม่: บ้านและการสร้างความเป็นถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการของการสร้างบ้านและการใช้ชีวิตของ “คนเมือง” ที่โยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรในเมืองเชียงใหม่ โดยการศึกษาได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญถึงการต่อเติม ดัดแปลง และตกแต่งพื้นที่บ้านของผู้อยู่อาศัยซึ่งหมายรวมไปถึงมิติทางสังคมต่างๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่และพิธีกรรมอื่นๆ กระบวนการเหล่านี้นำไปสู่การทำาให้บ้านหลังใหม่กลายเป็น “บ้าน” ตามที่ผู้อยู่อาศัยเลือกที่จะให้ความหมาย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระบวนการทั้งหมดไม่ได้เป็นแบบแผนเดียวกัน แต่กลับสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายตามภูมิหลังของแต่ละครอบครัวทั้งวิถีชีวิตและการทำกิจกรรมร่วมกัน มากไปกว่านั้น การปรับเปลี่ยนตัวบ้าน (ทางกายภาพ) ให้กลายเป็น “บ้าน” (เชิงสังคม) ที่มีความหมายส่งผลให้บ้านกลายเป็นพื้นที่ทางสังคมที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางสังคมโดยเฉพาะอุดมการณ์ถือชายเป็นใหญ่และระบบอาวุโสที่แฝงตัวอยู่ในระบบครอบครัวภายใต้การจัดการพื้นที่บ้าน บทความชิ้นนี้ยังให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นถิ่นฐานผ่านการสร้างความสัมพันธ์หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนบ้านและชุมชนเพื่อสร้างความรู้สึกถึงการเป็นคนในชุมชนร่วมกันในหมู่บ้านจัดสรรโดยที่การสร้างความเป็นถิ่นฐานมักปฏิบัติการผ่านการทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์
References
ธเนศวร์ เจริญเมือง. 2540. รายงานการวิจัยเรื่อง การขยายตัวของเมืองในภาคเหนือ: กรณีศึกษาการบริหารของเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีชา เจ็งเจริญ. 2539. รายงานการวิจัยเรื่อง การขยายตัวของเมืองในภาคเหนือ: กรณีศึกษา การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยตลาดที่อยู่อาศัย ในภูมิภาคของธนาคารอาคารสงเคราะห์.
วสันต์ ปัญญาแก้ว. 2551. “บ้านของชาวลื้อคืนถิ่น: การเดินทาง/เคลื่อนที่ การสร้างความเป็นถิ่นฐานและร้านอาหารไทในเชียงรุ่ง สิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน” ใน รัฐ จากมุมมองของชีวิตประจำวัน. (หน้า 65-101).กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
วิวัฒน์ เตมียพันธ์. 2532. “โลกทัศน์ล้านนาและเอกลักษณ์ทางสภาพแวดล้อมกายภาพของ แหล่งพำนักอาศัยและเรือนล้านนา”. เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง“เอกลักษณ์ เรือนถิ่นภาคเหนือ”. วันที่ 8 - 9 สิงหาคม 2539. เชียงใหม่: คณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ และหน่วยงานสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น 17 จังหวัดภาคเหนือ. (อัดสำเนา)
วิวัฒน์ เตมียพันธ์. 2539. “เรือนพักอาศัย: รูปแบบสำาคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น”.เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง “เอกลักษณ์เรือนถิ่นภาคเหนือ”. วันที่ 8 - 9สิงหาคม 2539. เชียงใหม่: คณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ และหน่วยงานสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น 17 จังหวัด
ภาคเหนือ. (อัดสำเนา)
สมชัย เจริญวรเกียรติ. 2537. “ผลกระทบที่เกิดจากการต่อเติม และเปลี่ยนแปลงประโยชน์ใช้สอย ของบ้านจัดสรร กรณีศึกษาหมู่บ้านลานทอง จังหวัดนนทบุรี”. วิทยานิพนธ์ภาควิชา เคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน. 2541. “บันทึกจากห้องนั่งเล่น: ข้อสังเกตเชิงวัฒนธรรมในการดูละครโทรทัศน์ไทย”. ใน กาญจนา แก้วเทพ (บก.). โลกของสื่อ. (หน้า 139-167) กรุงเทพฯ:คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน. 2545. “ครัว: พื้นที่แห่งการผลิตวัฒนธรรมแห่งชีวิตประจำวัน”. รัฐศาสตร์
สาร. 23(2 ): 171-215.117 ภูมิศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงในล้านนา
สุรีย์ บุญญานุพงศ์. 2531. รายงานการวิจัยเรื่อง ลักษณะประชากร เศรษฐกิจและปัญหาการอยู่อาศัยของผู้อยู่บ้านจัดสรร. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Berker, Franklin D. et al. 1972. User Participation and Environment Meaning: Three field Studies. New York: Cornell University.
Bourdieu, Pierre. 2003. “The Berber House” in Setha Low and Denise LawrenceZiga (eds.). The Anthropology of Space and Place. (pp. 135-141). Oxford: Blackwell Publishing.
De Certeau, Michel. 1984. The Practice of Everyday Life. London: University of California Press.
Foley, Donald L. 1980. “The Sociology of Housing”. Annual Revews Sociology.[Online] Available: http://www.arjournals.annualreviews.org (25 October2006).
Ingold, Tim. 1995. “Building, Dwelling, Living: How Animals and People Make Themselves at Home in the World”. in Marilyn Strathern (ed.). Shifting Contexts: Transformation in anthropological knowledge. (pp. 57-80). London; New York: Routledge.
Lofgren, Orvar. 2003. “The Sweetness of Home: Class, Culture and Family Life in Sweden”, in Setha Low and Denise Lawrence-Ziga (eds.). The Anthropology of Space and Place. (pp. 142-159). Oxford: Blackwell Publishing.
Trankell, Ing-Britt. 2003. “House and Moral Community Among the Tai Yong in Northern Thailand”. in Stephen Sparkes and Signe Howell (eds.). The House in Southeast Asia: A Changing social, Economic and Political Domain. (pp. 133-149). Curzon: Routledge.
Tuan, Yi-Fu. 1975. “Place: An Experiential Perspective”. The Geographical Review. 65(2): 151-165.