การเคลื่อนไหวของประชาสังคมในเมืองเชียงใหม่ต่อประเด็นปัญหาที่เกิดจากความเป็นเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2551

Main Article Content

กานต์ชนก ประกาศวุฒิสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการทำความเข้าใจต่อการเคลื่อนไหวของประชาสังคมในเขตเมืองเชียงใหม่ ต่อประเด็นปัญหาที่เกิดจากความเป็นเมืองโดยสนใจศึกษาในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2551 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นและ/หรือตรวจสอบการทำงานของภาครัฐอย่างกว้างขวาง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาความเป็นเมืองที่เกิดขึ้นในเขตเมืองเชียงใหม่ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และปัญหาที่เกิดขึ้นจากความเป็นเมือง และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาสังคม 5 กลุ่มคือองค์กรกลุ่มเพื่อนร่วมงาน (POP) ภาคีคนฮักเจียงใหม่ ชมรมจักรยานวันอาทิตย์ เชียงใหม่ ชาวบ้านวัดเกต และชุมชนสุเทพผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาที่มุ่งเน้นให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางส่วนภูมิภาค ทำให้เกิดภาวะความเป็นเมืองของเมืองเชียงใหม่ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ 1) ความเป็นเมืองเชิงพื้นที่ ดังจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในเขตเมืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะความหนาแน่นของพื้นที่อยู่อาศัยและการกระจายตัวของพื้นที่พาณิชยกรรม อาคารสูงกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีสิ่งปลูกสร้างต่างๆอย่างไร้ระเบียบ และการเพิ่มสูงขึ้นราคาที่ดินในเขตเมือง 2) ความเป็นเมืองเชิงสังคม กล่าวคือ มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและความหนาแน่น ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของรายได้ต่อปีของประชากร และ 3)ความเป็นเมืองเชิงการเมือง ซึ่งเกิดจากนโยบายทั้งจากภาครัฐส่วนกลางและจากหน่วยงานท้องถิ่น ขณะเดียวกันความเป็นเมืองดังกล่าวก็นำมาสู่ปัญหาของความเป็นเมือง กล่าวคือ ปัญหาจากการกำหนดนโยบายของภาครัฐโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัญหาเรื่องความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ปัญหาช่องว่างทางวัฒนธรรม ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาสังคม พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดนั้นมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน คือ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้เป็นไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจนและสอดรับกับความต้องการของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมนั้นต้องเป็นการมีส่วนร่วมในการรับรู้ข้อมูลโครงการการพัฒนาต่างๆอย่างโปร่งใส ชัดเจน มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อเสนอแนะและร่วมตัดสินใจ ซึ่งกลุ่มประชาสังคมส่วนใหญ่จะทำงานในลักษณะยืดหยุ่นและเป็นการทำงานในลักษณะของอาสาสมัคร หากแต่สามารถที่จะตรวจสอบ ผลักดัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาในเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับการสร้างจิตสำนึกร่วมของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงใหม่และเด็กเยาวชนรุ่นหลัง

Article Details

How to Cite
ประกาศวุฒิสาร ก. (2019). การเคลื่อนไหวของประชาสังคมในเมืองเชียงใหม่ต่อประเด็นปัญหาที่เกิดจากความเป็นเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2551. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 21(1), 171–213. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/173515
บท
บทความวิชาการ

References

ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล. 2541. กระบวนการเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศกำาลังพัฒนา: Urbanization and Social Change in Developing Countries. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีรยุทธ บุญมี. 2547. ประชาสังคม. กรุงเทพฯ : สำานักพิมพ์สายธาร.

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. 2545. สังคมวิทยาและมานุษยวิทยานคร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระ เลิศสมพร. 2543. “การเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนและกลุ่มองค์กรต่างๆต่อกรณีการร่างรัฐธรรมนูญในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน”. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เสน่ห์ ญาณสาร. 2543. ภูมิศาสตร์เมือง. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสน่ห์ ญาณสาร. 2547. ภูมิศาสตร์เมือง. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สัมพันธ์ ไชยะ.2536. “การขยายตัวของเมืองเข้าสู่พื้นที่เกษตรกรรม : กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่” . การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แหล่งที่มาระบบออนไลน์
- www.bangkok biznews.com/2006/special/tdri/tdri006.pdf (25 พฤศจิกายน2551)

- www.geocities.com/ cm2546/cm7.html (21 มกราคม 2552)