ชาติพันธุ์นิพนธ์แนวสตรีนิยม:การท้าทายกระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม

Authors

  • สุชาดา ทวีสิทธิ์ Institute for Population and Social Research, Mahidol University

Keywords:

สตรีนิยม, ชาติพันธุ์นิพนธ์, หลังสมัยใหม่นิยม

Abstract

สาระสำคัญของบทความนี้มุ่งอธิบายวิธีคิดวิทยาที่นักมานุษยวิทยาแนวสตรีนิยมยุคหลังทฤษฎีโครงสร้างนิยม ใช้นำทางในการผลิตองค์ความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงโดยพยายามทำให้มีผู้หญิงกลายเป็นศูนย์กลางของความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงเอง ซึ่งแน่นอนว่าการหันมาทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้หญิงใหม่ภายใต้วิธีวิทยาแนวใหม่ อาจทำให้เราจำเป็นต้องก้าวไปไกลถึงขั้นต้องท้าทายหรือปล่อยวางวิธีคิดวิทยาแบบเดิมๆ ที่ถูกครอบงำโดยกระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม ดังนั้นสไตล์การเขียนงานชาติพันธุ์นิพนธ์แนวสตรีนิยมยุคหลังสมัยใหม่นิยม จึงพยายามขุดคุ้ยให้เห็นว่าภายใต้วิธีการสร้างความรู้แบบที่เราคุ้นชินกันมา มักมีอุดมการณ์สังคมที่ยึดผู้ชายเป็นศูนย์กลางชี้นำอยู่เสมอ ส่งผลให้ผู้หญิงและความรู้ของผู้หญิงกลายเป็นความรู้ชายขอบ ไร้พลังอำนาจ มีสถานะแปลกแยก และเป็นอื่นตลอดมาท้ายสุดบทความนี้พยายามที่จะบอกว่า ด้วยการตระหนักถึงหลุมพรางของวิธีการสร้างความรู้เกี่ยวกับผู้หญิงแบบเดิมๆ เท่านั้น นักวิจัยแนวสตรีนิยมจึงจะสามารถสร้างงานชาติพันธุ์นิพนธ์ที่มีประโยชน์ต่อการปรับเปลี่ยนสถานภาพของผู้หญิง และความรู้ของผู้หญิง ให้ย้ายจากชายขอบมาอยู่ที่ศูนย์กลาง และเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายและความรู้ของผู้ชายได้

References

Behar, Ruth and Deborah A. Gordon (1995) Women Writing Culture. Berkeley, California: University of California Press.

Bloom, L. R. (1988) Under the Sign of Hope: Feminist Methodology and Narrative Interpretation. Albany, N.Y.: State University of New York Press.

Clifford, James and George Marcus (1986) Writing Culture : The Poetics and Politics of Ethnography. Berkeley, University of California Press.

Harding, Sandra (1998) Is Science Multicultural?: Postcolonialism, Feminism, and Epistemology. Bloomington and Indianapolis: Indiana University Press.

Marjorie, Muecke (1994) On the Evaluation of Ethnographies. In Critical Issues in Qualitative Research Methods. Janice M. Morse edited. Thousand Oaks: Sage Publication.

Mohanty, C. T., A. Russo, et al. (1991) Third World Women and the Politics of Feminism. Bloomington: Indiana University Press.

Scott, Joan. (1998) Experience. In Women, autobiography, theory: A reader. Sidonie Smith and Julia Watson, eds., Wisconsin: The University of Wisconsin Press.

Downloads

Published

2019-02-26

How to Cite

ทวีสิทธิ์ สุชาดา. 2019. “ชาติพันธุ์นิพนธ์แนวสตรีนิยม:การท้าทายกระบวนทัศน์ปฏิฐานนิยม”. Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 18 (1):23-57. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/174652.