วาทกรรม “ความสวย” และการต่อรองอัตลักษณ์วัฒนธรรมบริโภค

Authors

  • อุ่นใจ เจียมบูรณะกุล Aids's Net

Keywords:

วาทกรรมความสวย, อัตลักษณ์, การบริโภค

Abstract

บทความชิ้นนี้มุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง “ความสวย” ของผู้หญิงในฐานะที่เป็นสิ่งประกอบสร้างทางสังคม จากการศึกษาพบว่า เด็กสาวผู้ให้ข้อมูลหลักไม่ได้เป็นเพียงเหยื่อของสินค้าเพื่อความงามต่างๆ เพียงอย่างเดียว แต่เลือกที่จะบริโภคความรู้เรื่องการสร้างความสวยในรูปแบบต่างๆ ทั้งความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ร่างกาย การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และการเลือกวิธีการศัลยกรรมความงามเพื่อให้ร่างกายงดงามตามสมัยนิยม อีกทั้งเพื่อการสร้างความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์เรื่องความงามที่สอดคล้องกับค่านิยมทางสังคม กระบวนการสร้างอัตลักษณ์เกี่ยวพันกับการบริโภคความรู้ที่ได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เสนออยู่ในนิตยสาร โดยที่เด็กสาวผู้ให้ข้อมูลหลักในงานศึกษาได้เลือกที่จะใช้ทั้งความรู้ วิธีการ และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อสร้างความสวยที่เหมาะกับตนเองในฐานะที่ร่างกายเป็นทุนทางสังคม เพื่อจะได้สถานภาพทางสังคมที่ดี

References

คณะแพทย์โรงพยาบาลยันฮี (2545) สวยด้วยแพทย์: คู่มือ 45 วิธีสวยอย่างปลอดภัย. กรุงเทพฯ: บริษัทสนุกอ่าน จำกัด.

ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2543จ) วาทกรรมความสวย. เอกสารประกอบการสอนวิชาผู้หญิงกับวัฒนธรรม เชียงใหม่: ศูนย์สตรีศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (2542) “ผู้หญิง: ‘เงาสลัว’ ในแนวพินิจสตรีนิยม”รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 21 ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (2543) “ปีศาจชื่อ ‘Feminism’: ที่ทางของสตรีนิยมในสังคมไทย” ใน รวมบทความ ประเพณี สตรีศึกษาครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาวดี วิเชียรรัตน์ (2000) ดรีมส์ โปรเจกต์ โครงการฝันไขมันต่ำ. กรุงเทพฯ:สำานักพิมพ์ดอกหญ้า.

วารุณี ภูริสินสิทธิ์ (2536) ชาร์ลส์ ฮอร์ตัน คูลี่ย์. เชียงใหม่: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Justin Scott-Macnab (ed.) (2543) รีดเดอร์ส ไดเจสท์: ไขปัญหา รักษาสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท รีดเดอร์ไดเจส จำกัด มหาชน.

หนังสือพิมพ์ข่าวสด 29 มิถุนายน 2546.

หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 12 ตุลาคม 2546

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก 4 เมษายน 2545

Counihan, Carol M. (1999) The Anthropology of Food and Body: Gender, Meaning and Power Routledge: New York and London.

Gilman, Sander L. (1999) Making the Body Beautiful: A Cultural History of Aesthetic Surgery Princeton University Press.

Tong, Rosemary (1989) Feminist Thought: A Comprehensive Introduction. United States of America: Westview Press.

Wolf, Naomi (1997) The Beauty Myth, Toronto: Vintage.

Woodward, Katherine (1997) Identity and Difference. London: Sage.

Downloads

Published

2019-02-26

How to Cite

เจียมบูรณะกุล อุ่นใจ. 2019. “วาทกรรม ‘ความสวย’ และการต่อรองอัตลักษณ์วัฒนธรรมบริโภค”. Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 18 (1):133-67. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/174663.