ร่างทรง และพื้นที่ทางสังคมของคนข้ามเพศ

Main Article Content

กิ่งแก้ว ทิศตึง

บทคัดย่อ

บทความนี้ตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่ว่า เหตุใดกลุ่มร่างทรงกะเทยจึงเลือกที่จะช่วงชิงพื้นที่ทางสังคมผ่านการเป็นร่างทรง ทำให้กลุ่มกะเทยสามารถสร้างพื้นที่ทางสังคม


จากการศึกษาพบว่ากลุ่มร่างทรงเพศที่สามที่อยู่ในสถานะของการเป็นนักศึกษากลุ่มหนึ่งเลือกใช้ความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่ทางวัฒนธรรม เช่น การฟ้อนผี เรื่องเล่า ตำนาน หรือแม้กระทั่งการดำรงสถานะการเป็นร่างทรง เพื่อที่จะสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับตนเอง และพยายามหลีกหนีการตีตราทางสังคม การเป็น เพศที่สาม ตลอดจนชีวิตของพวกเธอที่เต็มไปด้วยความเปราะบาง ทั้งนี้จากการศึกษา พบว่าพวกเธอฉวยใช้อำนาจความศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการต่อรอง ช่วงชิงความหมายในสังคม เนื่องจากพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีลักษณะเฉพาะที่เอื้อต่อการสร้างความหมายที่ไม่สามารถชี้เฉพาะได้ เป็นพื้นที่พิเศษที่พวกเขาสามารถเข้าไปแสดงตัวตนได้ ไม่จำกัดว่าปัจเจกจะมีเพศสภาพอะไร สถานะทางสังคมเป็นอย่างไร

Article Details

How to Cite
ทิศตึง ก. (2019). ร่างทรง และพื้นที่ทางสังคมของคนข้ามเพศ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 28(1), 87–108. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/178035
บท
บทความวิชาการ