พื้นที่ชีวิตแรงงานข้ามชาติไทใหญ่: การสร้างตัวตนและความเป็นพลเมืองในพื้นที่วัฒนธรรม

Main Article Content

อานันท์ กาญจนพันธุ์
ชัยพงษ์ สำเนียง

บทคัดย่อ

แรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่มักจะตกอยู่ในสภาพเหมือนคนไร้ตัวตน หรือมนุษย์ล่องหน การเป็นแรงงานระดับล่าง และมีสถานะเป็นเพียงคนไร้รัฐ ทำให้ชีวิตการทำงานก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย และไม่สามารถที่จะแสดงตัวตนในสังคมได้ เพราะถูกมองว่ามีฐานะเป็นเพียงทรัพยากรทางเศรษฐกิจเท่านั้น


การเข้าร่วมในพื้นที่ทางวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาตินั้น ก็เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ ด้วยการสร้างตัวตนของพวกเขาขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะ การโต้ตอบความหมายของความเป็นพลเมืองเชิงเดี่ยวที่ตายตัว ผ่านการช่วงชิง ความหมายต่าง ๆ การใช้พื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อช่วงชิงความหมาย เพื่อแทนที่การถูกจองจำอยู่แต่ในพื้นที่ทางเศรษฐกิจเท่านั้น นำไปสู่การปรับเปลี่ยนและสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาใหม่ จนช่วยให้พวกเขาสามารถต่อรองความเป็นพลเมืองเชิงซ้อนที่หลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น

Article Details

How to Cite
กาญจนพันธุ์ อ., & สำเนียง ช. (2019). พื้นที่ชีวิตแรงงานข้ามชาติไทใหญ่: การสร้างตัวตนและความเป็นพลเมืองในพื้นที่วัฒนธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 28(1), 111–153. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/178037
บท
บทความวิชาการ