คน/ช้าง/การเคลื่อนย้าย และชีวิตเร่ร่อนในโลกสมัยใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในสังคมไทยคนกับช้างอาศัยใช้ชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กันมาช้านาน บางพื้นที่ของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการเลี้ยงช้างเพื่อใช้งาน โดยเฉพาะในชุมชนคนเลี้ยงช้าง พวกเขามีความรู้ทักษะในการจับช้างป่า เลี้ยงดูช้าง และฝึกช้างป่าเหล่านั้นให้เชื่องเพื่อขายหรือใช้งาน และพวกเขามีพิธีกรรม ความเชื่อซึ่งสะท้อนความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างคนกับช้าง บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาจากโครงการวิจัย “วิถีการดำรงชีพของควาญช้างไทยในบริบทของการท่องเที่ยว” ดำเนินโครงการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม 2560 – เมษายน 2561 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของการศึกษาในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทยจำนวน 6 จังหวัดคือ ชลบุรี ภูเก็ต อยุธยา กาญจนบุรี สุรินทร์ และเชียงใหม่ บทความจะชี้ให้เห็นว่า ควาญช้างส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ในปางช้างแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของช้าง แต่ก็ยังมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมจากชุมชนคนเลี้ยงช้าง มีประสบการณ์ผูกพันกับช้าง หรือเคยเลี้ยงช้างมาก่อน ขณะเดียวกันก็มีควาญช้างกลุ่มใหม่ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับการเลี้ยงช้างมาก่อนที่เข้าสู่อาชีพควาญช้าง โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มผู้อพยพข้ามชาติ ควาญช้างทั้งสองกลุ่มมีระดับการศึกษาไม่สูงนัก อย่างไรก็ตามการทำงานของควาญช้างต้องอาศัยทักษะ ความรู้ที่สั่งสมจากการปฏิบัติ ประสบการณ์การทำงาน ความผูกพัน และความรักที่มีต่อช้าง การขยายตัวของธุรกิจปางช้างที่ใช้ช้างเพื่อการท่องเที่ยว มีส่วนเกี่ยวพันไปกับ การที่ปัจจุบันวิถีชีวิตของควาญช้างได้กลายมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องอพยพมีชีวิตเร่ร่อนในโลกสมัยใหม่ พวกเขาต้องละทิ้งถิ่นฐานไปตามเส้นทางของธุรกิจปางช้าง ทั้งในเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และต่างแดนไกล
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์
References
จามะรี เชียงทอง และคณะ. 2554. ชนบทไทย. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชื่น ศรีสวัสดิ์ 2550. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนชาวกวยในเขตอีสานใต้และลาวใต้. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ชุดโครงการการพัฒนาและจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน กลุ่มจังหวัดอีสานใต้ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ไชยวัฒน์ ปัญญานิติกุล. 2552. การศึกษาสภาวะปัญหาช้างเร่ร่อนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสัตวศาสตร์ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวทิยาลัยแม่โจ้.
ทองใบ ศรีสมบัติ. 2535. การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างและการประกอบอาชีพเลี้ยงช้างของหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เภา บุญเยี่ยม และ ภารดี มหาขันธ์. 2558. ปะคำ: วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของคนเลี้ยงช้างภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 41 (มกราคม-เมษายน 2558) : 101.
มีชัย แก้วหอม. 2554. โครงการวิจัยเรื่องศึกษาสถานการณ์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาช้างเร่ร่อน กรณีศึกษา : ชุมชนคนเลี้ยงช้าง บ้านขุนไชยทองตำบลหนองเรือ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
รักษพล สกุลวัฒนา. 2538. คนเลี้ยงช้างชาวไทยกวยจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมหมาย ชินนาค. 2539. ผีปะกำ: คติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษของชาวไทย-กวย (กวย) เลี้ยงช้าง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Evan Pritchard. 1940. The Nuer: A Description of the Modes of Livelihood and Political Institutions of a Nilotic People. Oxford. Clarendon Press.
Fredrik Barth. 1961. Nomad of South Persia: The Basseri Tribe of the Khanseh Confederacy. Oslo University Press.
Gilles Deleuze. 1986. Nomadology: The War Machine. New York, United States. AUTONOMEDIA.
Pierre Castles. 1972. Society Against the State: Essays in Political Anthropology. ZONE BOOKS.