Book review "Knowing the Salween River: Resource Politics of a Contested Transboundary River"

Authors

  • Dr. Paiboon Hengsuwan Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University

Abstract

หากถามว่า ‘คุณรู้จักแม่น้ำสาละวินไหม?’ คำตอบอาจจะเป็นได้ทั้ง ‘รู้’ หรือ ‘ไม่รู้’ แต่ว่าการรู้หรือไม่รู้ก็ได้นั้น ไม่สำคัญมากนัก ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ คุณรู้จักสาละวินอย่างไร สำหรับผู้ที่ ‘รู้’ จักแล้ว และสำหรับผู้ที่ยัง ‘ไม่รู้’ จักสาละวิน คุณจะมีแนวทาง (Approach) ในการที่จะเข้าถึงหรือทำความรู้จักกับสาละวินอย่างไร หนังสือเรื่อง Knowing the Salween River: Resource Politics of a Contested Transboundary River เป็นเสมือนคู่มือเดินทางด้านวิชาการสำหรับผู้แสวงหาความรู้ โดยเฉพาะด้านการศึกษาการพัฒนาและการจัดการทรัพยากร ซึ่งปัจจุบันแนวทางที่โดดเด่นและเป็นที่นิยมในการศึกษาด้านนี้คือ นิเวศวิทยาการเมือง แนวทางการศึกษานี้เล็งเป้าหมายไปที่ความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากรเป็นจุดใหญ่ใจความสำคัญ

หนังสือเล่มนี้ก็เช่นกันมีพื้นฐานอยู่ที่นิเวศวิทยาการเมือง และด้วยแนวทางการศึกษานี้ทำให้เราเข้าใจแม่น้ำสาละวิน ไม่ใช่เป็นแค่ “ธรรมชาติ” ที่มันเป็นอยู่ และความหมายของแม่น้ำสาละวินก็ถูกประกอบสร้างขึ้นและเกิดการช่วงชิงความหมาย ไปจนถึงแย่งชิงการเข้าถึงแม่น้ำจากกลุ่มคนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ นักลงทุน ประชาชนในพื้นที่ ฯลฯ เพราะฉะนั้นสาละวินมีฐานะเป็นพื้นที่ช่วงชิงในการเมืองทรัพยากร ดังปรากฏในชื่อรองของหนังสือคือ Contested Transboundary River

เนื้อหาในหนังสือ ประกอบด้วย งานเขียนจำนวน 16 ชิ้น ซึ่งล้วนแต่มีประเด็นที่น่าศึกษา เช่น ความขัดแย้งบนแม่น้ำสาละวิน การสร้างเขื่อนกับการสร้างสรรค์อุทยาน ความเป็นธรรมน้ำหรือแม่น้ำ การช่วงชิงการบริหารปกครองแม่น้ำ เป็นต้น กล่าวได้ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนการตกผลึกทางความคิด ซึ่งเป็นผลงานของการทำงานอย่างหนักและอดทนมาอย่างต่อเนื่องของ “ปัญญาชน” ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักพัฒนา นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว ชนพื้นถิ่น และสะท้อนให้เห็นการเติบโตของประชาสังคมผ่านการผลิตสร้างความรู้ ดังนั้นการที่คุณจะ ‘รู้จัก’ สาละวินนั้นคือการเมือง

Additional Files

Published

2020-06-30

How to Cite

Hengsuwan, Dr. Paiboon. 2020. “Book Review ‘Knowing the Salween River: Resource Politics of a Contested Transboundary River’”. Social Sciences Academic Journal, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University 32 (1):172-74. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/244130.