วัฒนธรรมเก็บสะสม: ข้อเสนอ วิวาทะและพัฒนาการ
Abstract
สาระสำคัญที่จะอภิปรายในบทความนี้คือแนวคิดหรือสมมติฐานและข้อถกเถียงบางประการในวงวิชาการด้าน “วัฒนธรรมเก็บสะสม” (Collecting Culture) โดยใช้กรณีศึกษาในสังคมตะวันตกเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เห็นถึงที่มาหรือจุดเริ่มต้นและพัฒนาการของการเก็บสะสม รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมเก็บสะสมกับเรื่องอื่น เช่น พิพิธภัณฑ์ การพักผ่อนหย่อนใจ ชนชั้น เป็นต้น
อนึ่ง ผมควรระบุด้วยว่าเนื้อหาและประเด็นต่างๆ ที่จะอภิปรายในที่นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย/งานเขียนที่เคยตีพิมพ์แล้ว[1] แม้ว่าผลงานชิ้นนั้นจะครอบคลุมสาระและประเด็นในการอภิปรายที่มีรายละเอียดมากกว่า โดยใช้กรณีศึกษาในประเทศไทยเป็นตัวอย่าง ซึ่งทำให้เห็นความเฉพาะและความแตกต่างจากกรณีศึกษาในสังคมตะวันตกก็ตาม แต่เนื่องจากเป็นผลงานที่ผมเขียนไว้หลายปีแล้ว เนื้อหาบางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องแนวคิดและวิวาทะ อาจไม่ทันสมัยเท่าที่ควร ทว่า ด้วยความหวัง (และความคิดที่อาจเข้าข้างตัวเอง?) ว่าสาระสำคัญบางประการในบทความนี้ เช่น เรื่องการเริ่มต้นของการเก็บสะสม ข้อเสนอเรื่อง “ใจรัก” และ “กำไร” เป็นต้น อาจยังไม่ล้าสมัยนัก[2]
นอกจากนี้ ผมได้ปรับปรุงบทความนี้ด้วยการเขียนแก้ไขรายละเอียดในบางเรื่อง และได้เพิ่มเติมสองประเด็นที่คิดว่าสำคัญ ได้แก่ เรื่องความละอายแห่งยุคสมัยและวัตถุที่ไม่มีใครต้องการ และเรื่องวัตถุที่มีนัยทางการเมือง แต่ดูไร้ค่าเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งจะปรากฏในตอนท้ายของบทความ ประเด็นแรกเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอย่างมากและยังหาข้อยุติไม่ได้ ส่วนประเด็นที่สองเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองไทยในปัจจุบัน ในความเห็นของผม ทั้งสองประเด็นเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเก็บสะสมอย่างลึกซึ้ง ทำให้เห็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเหตุผลทางสังคม-วัฒนธรรมและการเมืองกับวัตถุ (ที่ควรหรือไม่ควรเก็บสะสม) และความเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุที่เก็บสะสม ผมจึงคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจในเรื่องวัฒนธรรมเก็บสะสม
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
All written articles published on Journal of Social Sciences is its author’s opinion which is not belonged to Social Sciences Faculty, Chiang Mai University or is not in a responsibility of the journal’s editorial committee’s members.