ความต้องการศึกษาต่อสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์

Main Article Content

หยาดพิรุณ ศุภรากรสกุล
นิตยา ภูวงศ์
พิยดา สืบเสือ
สุดาพร หาบุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการศึกษาต่อสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ รวมถึงความต้องการศึกษาในรายวิชาของนักศึกษาในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครอง จำนวน 253 คนจากการสุ่มอย่างง่ายในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์และพิจิตร โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงตรง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าคือ 0.970 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการศึกษาต่อและต้องการที่จะให้บุตรหลานศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ คิดเป็นร้อยละ 21.7 โดยมีผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( 4.49)  โดยมีปัจจัยด้านการมีคุณธรรมจริยธรรมที่อยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยด้านการมีความรู้ การมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การมีทักษะทางปัญญาทักษะ และการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่อยู่ในระดับมากโดยมีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานะกับความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ พบว่าสถานะกับความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์มีความสัมพันธ์กันและการวิเคราะห์การเปรียบเทียบสถานะกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ โดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรสองกลุ่มที่อิสระกันมาวิเคราะห์ พบว่าสถานะกับการมีคุณธรรม จริยธรรม การมีความรู้ การมีทักษะทางปัญญา การมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยที่ไม่แตกต่างกัน โดยที่สถานะกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. 2545. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญรอด ชาติยานนท์. 2561. การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11 (3), 2284 -

พรณพัชร วิมลทรง. 2555. คุณลักษณะตามสภาพจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตระดับปริญญาตรีตามความคิด

เห็นขององค์กรผูู้้ใช้บัณฑิต. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. นครศรีธรรมราช.

ภัทรนันท์ ศิริไทย. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัยชุมชน

สระแก้ว. มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งนภา แสงแดง. 2562. ความพร้อมในการทำงานและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อม ใน

การทำงานของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. ขอนแก่น.

วิชัย เทียนถาวร. 2562. สังคมมนุษย์. บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน). กรุงเทพมหานคร.

ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. 2558. ความต้องการของผู้ประกอบการที่มีต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิตแลคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

กรณีศึกษาผู้ประกอบการในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, อุบลราชธานี.

สมชาติ กิจยรรยง. 2548. พัฒนาคน พัฒนางาน การบริหารบุคคลสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.

สายสุดา ขันธเวช. 2561. ทักษะแสวงหาความรู้ด้วยตัวเอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

อัครวัฒน์ เลียมไธสง. 2555. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตและประเมินคุณลักษณะบัณฑิตตามอัตลักษณ์. คณะ

วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Fayol quoted in Shafritz & Ott 2001. Put the right man to the right job and division of laborconcept in

different context : Is it still valid in Modernity and Post-modernity era: 83-91.