Information For Authors

Interested in submitting to this journal? We recommend that you review the About the Journal page for the journal's section policies, as well as the Author Guidelines. Authors need to register with the journal prior to submitting or, if already registered, can simply log in and begin the five-step process.

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

  1. ข้อกำหนดการเขียนบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

          1.1 เรื่องที่จะลงตีพิมพ์เป็นผลงานการค้นคว้าวิจัย และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน

          1.2 ต้นฉบับต้องมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ในฉบับ จัดพิมพ์ตามแบบฟอร์มที่กำหนด จัดพิมพ์แบบหน้าเดียว กระดาษพิมพ์ขนาดมาตรฐาน A4 โดยมีจำนวนหน้าไม่เกิน 12 หน้า

          1.3 การจัดพิมพ์บทความตลอดทั้งเอกสารใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun New

  1. การตั้งค่าหน้ากระดาษ

          2.1 การตั้งระยะขอบ      บน: 3.70 ซม.    ล่าง: 2.54 ซม.   ซ้าย: 3.00 ซม.      ขวา: 3.00 ซม.

          2.2 หัวกระดาษและท้ายกระดาษจากขอบ  หัวกระดาษ: 1.5 ซม. ท้ายกระดาษ: 1.5 ซม.

  1. ส่วนประกอบในบทความวิจัยต้องมีหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้

3.1  ชื่อเรื่อง ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun New ขนาด 20 พอยต์ พิมพ์ด้วยตัวหนาไว้กลางหน้ากระดาษ

3.2  ชื่อผู้เขียน ให้ระบุชื่อเต็มและนามสกุลเต็ม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรขนาด 14 พอยต์ ตำแหน่งทางวิชาการ ชื่อของหน่วยงานและที่อยู่ ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12 พอยด์ กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่าหนึ่งคน ให้ระบุที่อยู่ของผู้เขียนแต่ละคนโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์แบบยกสูง (superscript) ไว้หลังชื่อของผู้เขียนแต่ละคนนั้น นอกจากนี้ควรมีการระบุชื่อผู้เขียนหลัก (Corresponding author) โดยการพิมพ์เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) ไว้หลังชื่อ เฉพาะบรรทัดสุดท้ายให้ระบุ e-mail และเบอร์โทรศัพท์/โทรสารของผู้เขียนหลักที่สามารถติดต่อได้ โดยทั้งหมดนี้ให้พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ

3.3  บทคัดย่อและคำสำคัญ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกินอย่างละ 300 คำ โดยหัวเรื่องให้พิมพ์คำว่า “บทคัดย่อ” และ “Abstract” โดยใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ และจัดให้อยู่ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาในบทคัดย่อให้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ และให้ระบุคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล โดยพิมพ์คำว่า “คำสำคัญ” และ “Keywords” ไว้ท้ายบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามลำดับ ด้วยตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ ส่วนเนื้อหาในคำสำคัญให้ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 พอยต์ และควรมีไม่เกินอย่างละ 5 คำ

3.4  เนื้อหาในบทความ ในส่วนของเนื้อหาที่เป็นหัวข้อหลัก กำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ และจัดไว้ให้ชิดริมซ้ายของคอลัมน์ ส่วนหัวข้อย่อยและหัวข้อย่อยรองลงมา กำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ ในการพิมพ์และให้ห่างจากริ่มซ้ายของคอลัมน์ 0.5 นิ้ว ส่วนของเนื้อหาบทความ กำหนดให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ รวมถึงไม่ต้องมีการเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้า (ไม่ต้องเคาะบรรทัดเมื่อขึ้นย่อหน้าใหม่) โดยเนื้อหาในบทความควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

3.4.1 บทนำ (Introduction) ควรอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาและเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษาวิจัยโดยให้ข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถืออ้างอิงและตรวจสอบได้ และวัตถุประสงค์ของการวิจัย

3.4.2 วัสดุและวิธีการ (Materials and Method) ควรระบุถึงวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการเตรียมตัวอย่าง ขอบเขตของการวิจัย รายละเอียดของวิธีการวิจัยหรือวิธีดำเนินการทดลอง สถิติที่ใช้ และการวิเคราะห์ โดยควรเขียนให้กระชับและเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม มีความชัดเจน

3.4.3 ผลการวิจัยหรือผลการทดลอง (Results) ควรบรรยายผลที่พบอย่างชัดเจน สมบูรณ์ และมีความกระชับแต่มีรายละเอียดครบถ้วน หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนกับข้อความในตารางหรือรูปกระกอบ (ถ้ามี)

3.4.4 สรุปและอภิปรายผล (Discussion and Conclusion) ควรอภิปรายผลและสรุปผลอย่างกระชับ ในแง่มุมต่าง ๆ ของผลการวิจัยที่ได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลงานผู้อื่นอย่างไร โดยต้องมีการอ้างหลักการหรือทฤษฎีมาสนับสนุนหรือการหักล้างอย่างสมเหตุสมผล รวมถึงอาจมีข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคตและแนวทางการนำไปใช้ประโยชน์

3.4.5 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ถ้ามี เพื่อขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน หรือผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย สามารถเขียนได้โดยให้อยู่หลังเนื้อหาหลักของบทความและก่อนเอกสารอ้างอิง

3.4.6 เอกสารอ้างอิง (Results) การอ้างอิงต้องถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะต้องมีรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเอกสารไว้อย่างครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการติดตามเอกสาร การอ้างอิงควรแทรกในเนื้อหาและการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ กำหนดให้ยึดตามรูปการอ้างอิงตามระบบ APA (American Psychological Association) และต้องใช้แบบเดียวกันอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งเอกสาร

  1. ส่วนประกอบในบทความวิชาการต้องมีหัวข้อตามลำดับดังต่อไปนี้

4.1  ชื่อเรื่อง     ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรแบบ TH Sarabun New ขนาด 20 พอยต์ พิมพ์ด้วยตัวหนาไว้กลางหน้ากระดาษ

4.2  ชื่อผู้เขียน ให้ระบุชื่อเต็มและนามสกุลเต็ม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวอักษรขนาด 14 พอยต์ ตำแหน่งทางวิชาการ ชื่อของหน่วยงานและที่อยู่ ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12 พอยด์ กรณีที่มีผู้เขียนมากกว่าหนึ่งคน ให้ระบุที่อยู่ของผู้เขียนแต่ละคนโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์แบบยกสูง (superscript) ไว้หลังชื่อของผู้เขียนแต่ละคนนั้น นอกจากนี้ควรมีการระบุชื่อผู้เขียนหลัก (Corresponding author) โดยการพิมพ์เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) ไว้หลังชื่อ เฉพาะบรรทัดสุดท้ายให้ระบุ e-mail และเบอร์โทรศัพท์/โทรสารของผู้เขียนหลักที่สามารถติดต่อได้ โดยทั้งหมดนี้ให้พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ

4.3  บทคัดย่อและคำสำคัญ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกินอย่างละ 300 คำ โดยหัวเรื่องให้พิมพ์คำว่า “บทคัดย่อ” และ “Abstract” โดยใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ และจัดให้อยู่ตรงกึ่งกลางของหน้ากระดาษ ส่วนเนื้อหาในบทคัดย่อให้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ และให้ระบุคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้เป็นคำค้นในระบบฐานข้อมูล โดยพิมพ์คำว่า “คำสำคัญ” และ “Keywords” ไว้ท้ายบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามลำดับ ด้วยตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ ส่วนเนื้อหาในคำสำคัญให้ใช้ตัวอักษรปกติขนาด 16 พอยต์ และควรมีไม่เกินอย่างละ 5 คำ

4.4  เนื้อหาในบทความ ในส่วนของเนื้อหาที่เป็นหัวข้อหลัก กำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ และจัดไว้ให้ชิดริมซ้ายของคอลัมน์ ส่วนหัวข้อย่อยและหัวข้อย่อยรองลงมา กำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 16 พอยต์ ในการพิมพ์และให้ห่างจากริ่มซ้ายของคอลัมน์ 0.5 นิ้ว ส่วนของเนื้อหาบทความ กำหนดให้ใช้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์ รวมถึงไม่ต้องมีการเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้า (ไม่ต้องเคาะบรรทัดเมื่อขึ้นย่อหน้าใหม่) โดยเนื้อหาในบทความควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

4.4.1 บทนำ (Introduction) ควรบอกถึงที่มาและความสำคัญของเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำไปสู่การศึกษา ค้นคว้า วิจัย โดยให้ข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถืออ้างอิงและตรวจสอบได้

4.4.2 เนื้อเรื่อง (Content) ควรบรรยายสิ่งที่ได้ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม อย่างเป็นลำดับ โดยเนื้อหาที่จะนำเสนอควรมีความถูกต้องชัดเจน สมบูรณ์ และมีความกระชับแต่มีรายละเอียดครบถ้วน หลีกเลี่ยงการกล่าวเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกับข้อความในตารางหรือรูปกระกอบ (ถ้ามี) โดยในส่วนนี้อาจแบ่งเนื้อหาที่นำเสนอเป็นหัวข้อย่อย ๆ ได้ตามความเหมาะสม

4.4.3 บทสรุป (Conclusion) ควรสรุปสิ่งที่ได้นำเสนอมาแล้วอย่างกระชับ รวมถึงอาจมีข้อเสนอแง่คิดหรือแนวทางการนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในอนาคต

4.4.4 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ถ้ามี เพื่อขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงาน หรือผู้ให้ทุนสนับสนุน สามารถเขียนได้โดยให้อยู่หลังเนื้อหาหลักของบทความและก่อนเอกสารอ้างอิง

4.4.5 เอกสารอ้างอิง (Results) การอ้างอิงต้องถูกต้องตามหลักวิชาการ และจะต้องมีรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเอกสารไว้อย่างครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการติดตามเอกสาร การอ้างอิงควรแทรกในเนื้อหาและการเขียนอ้างอิงท้ายบทความ กำหนดให้ยึดตามรูปการอ้างอิงตามระบบ APA (American Psychological Association) และต้องใช้แบบเดียวกันอย่างสม่ำเสมอตลอดทั้งเอกสาร หากเอกสารที่ใช้อ้างอิงเป็นภาษาไทยให้ผู้เขียนแปลงให้เป็นภาษาอังกฤษ และเรียงลำดับไว้ต่อจากเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

การนำเสนอรูปภาพและตาราง ให้จัดพิมพ์ต่อจากข้อความที่กล่าวถึงหรืออาจนำเสนอภายหลังจากจบหัวข้อหรือนำเสนอในหน้าใหม่ โดยให้ระบุคำว่า “ภาพที่” และ “ตารางที่” ตามด้วยหลายเลขกำกับ พิมพ์ด้วยอักษรตัวหน้าขนาด 16 พอยต์ อยู่ชิดซ้ายของหน้ากระดาษ ตามด้วยคำอธิบายประกอบโดยใช้ข้อความกะทัดรัดและชัดเจนพิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติขนาด 16 พอยต์ โดยให้ระบุไว้ใต้รูปภาพ หากรูปภาพใดถูกแบ่งออกเป็นภาพย่อยมากกว่า 2 ส่วน ให้มีการระบุคำอธิบายของแต่ละส่วนโดยอาศัยตัวอักษรภาษาไทยในวงเล็บเรียงตามลำดับ เช่น (ก) และ (ข) ส่วนตารางให้ระบุไว้ด้านบนเหนือตาราง ซึ่งทั้งภาพและตารางจะต้องมีขนาดพอเหมาะ มีความชัดเจนทั้งรูปภาพและตาราง โดยภาพควรเป็นภาพสีหรือภาพขาว-ดำ

สำหรับการนำเสนอสมการให้เขียนไว้กลางคอลัมน์และมีการระบุลำดับของสมการโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์อยู่ในวงเล็บ เช่น (1), (2), (3), …. เป็นต้น

 

--------------------------------------------------------