ผลของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะ ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ต่อสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายและคุณภาพชีวิต

Main Article Content

ชัยยา นรเดชานันท์
วัชระ เกี๋ยนต๊ะ
พวงแก้ว แสนคำ
ปริมประภา ก้อนแก้ว
พิมพ์นิภา บุญประเสริฐ
รัชดาภรณ์ แม้นศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายและคุณภาพชีวิต ของตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายและคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนผู้สูงอายุที่คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการสาธิตและการฝึกปฏิบัติตามหลักสูตรเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายผู้สูงอายุ และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับแปลภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองค่าเฉลี่ยผลการประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายของผู้สูงอายุ ได้แก่ ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว เส้นรอบเอว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนและร่างกายส่วนล่าง ความอ่อนตัวของร่างกายส่วนล่าง การทรงตัวและความว่องไว และสมรรถภาพของระบบหายใจและหลอดเลือดดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าหลักสูตรสามารถพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ ดังนั้นจึงควรนำหลักสูตรไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง สำนักบริหารทะเบียน. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้น 23 กันยายน2566, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/ display Data)

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานสุขภาพสาเหตุการป่วยตาย. สืบค้น 23 กันยายน 2566, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=491672679818600345dc1833920051b2

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2558). การปฏิรูประบบรองรับสังคมสูงวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชัยยา นรเดชานันท์, ณัทกวี ศิริรัตน์ และเพชรีย์ กุณาละสิริ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้สูงอายุในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารทหารบก. 22(1). 390-401

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต : การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 64-70.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 5). ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม:สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยุพิน ทรัพย์แก้ว. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครศรีธรรมราช. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 9(2), 25-39.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร, ภาวนา พัฒนศรี และธนิกานต์ ศักดาพร. (2560). การถอดบทเรียนตัวอย่างที่ดีของโรงเรียนและชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมถ่ายทอดความรู้. กรุงเทพฯ: เจพริ้นท์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2563. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2564). รายงานประจำปี 2564. สืบค้น 23 กันยายน 2566, จาก https://cloud.plkhealth.go.th/index.php/s/Eo2Tb6D6tESw7CN#pdfviewer

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2545). แบบคัดกรองทางสุขภาพจิต: เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ.2545. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.

อัมรา ธำรงทรัพย์, ปิยมณฑ์ พฤกษชาติ และเตือนใจ ศรีประทุม. (2561). ผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกายสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 25(3), 42-55.

Bandura, A. (1980). Gauging the relationship between self-efficacy judgment and action. Cognitive Therapy and Research. 4, 263-268.

Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.

Kim, S., Lee, E. J., & Kim, H. O. (2021). Effects of a Physical Exercise Program on Physiological, Psychological, and Physical Function of Older Adults in Rural Areas. International journal of environmental research and public health, 18(16), 8487. https://doi.org/10.3390/ ijerph18168487

Rikli, R.E., & Jones, C.J. (1999). Development and validation of a functional fitness test for community-residing older adults. Journal of Aging and Physical Activity, 7(2), 129–61.

Rondón García, L. M., & Ramírez Navarrro, J. M. (2018). The Impact of Quality of Life on the Health of Older People from a Multidimensional Perspective. Journal of aging research, 2018, 4086294. https://doi.org/10.1155/2018/4086294