รูปแบบการสืบพันธุ์เบื้องต้นของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ (Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein)

Main Article Content

จุก ต้นตระกูล
เครือวัลย์ พิพัฒน์สวัสดิกุล
หนึ่งฤทัย จักรศรี
ธนากร วงษศา

บทคัดย่อ

กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทย พบในพื้นที่จำกัด และจัดอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นการศึกษารูปแบบการสืบพันธุ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนความพยายามในการอนุรักษ์และการเพิ่มจำนวนประชากรกล้วยไม้ชนิดนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสืบพันธุ์ของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ ภายในเรือนเพาะเลี้ยงที่จัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการอนุรักษ์รองเท้านารีในดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนธันวาคม 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยบันทึกข้อมูลของสภาพอากาศภายในเรือนเพาะเลี้ยง ลักษณะทางสัณฐานของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ รูปแบบของการผสมเกสร 5 รูปแบบ ได้แก่ การผสมเกสรด้วยมือ 4 รูปแบบ (การผสมเกสรภายในต้นเดียวกัน การผสมเกสรข้ามต้น การกำจัดเกสรเพศผู้ และการผสมตัวเองตามธรรมชาติ) และการผสมเกสรตามธรรมชาติ รวมถึงการเฝ้าติดตามแมลงผสมเกสรเป็นระยะเวลา 160 ชั่วโมง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ลักษณะทางสัณฐานของดอก มีอิทธิพลต่อรูปแบบการผสมเกสร โดยมีอัตราการติดฝักของการผสมเกสรด้วยมือแบบการผสมเกสรภายในต้นเดียวกัน (40%) และการเกสรผสมข้ามต้น (30%) มีอัตราสูงกว่าการผสมเกสรตามธรรมชาติ (20%) พบกลุ่มของแมลงสกุล Stomoxys sp. Episyrphus sp. และ Betasyrphus sp. อย่างละ 1 ชนิด การค้นพบนี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการผสมเกสรที่มีประสิทธิภาพ
ช่วยเพิ่มจำนวนประชากรของกล้วยไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์ จนนำไปสู่การอนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารีในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนากร วงษศา, นพชัย คำเหมย, หนึ่งฤทัย จักรศรี และอนุพันธ์ กงบังเกิด. 2565. ชีววิทยาบางประการของเอื้องเขาแกะ (วงศ์กล้วยไม้) ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. 1(2): 127-137.

วุฒิชัย ฤทธิ, บุญสนอง ช่วยแก้ว, วิชาญ แฟงเมือง, กฤติมา โชติมิตร และสกาวเดือน บุญเหลือ. 2564. ระบบการผสมพันธุ์และการติดฝักของกล้วยไม้ดินนางกราย (Habenaria lindleyana Steud.) PBRU Science Journal. 18(1): 12-21.

อรรณพ เทียมแก้ว. 2554. ชีววิทยาการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของกล้วยไม้นางกราย (Habenaria lindleyana Steud.) ในสภาพปลอดเชื้อ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

Ackerman, J. D. and A.M. Montalvo. 1990. Short- and long-term limitations to fruit production in a tropical orchid. Ecology. 71(1): 263–272.

Bänziger, H. 1996. The mesmerizing wart: the pollination strategy of epiphytic lady slipper orchid Paphiopedilum villosum (Lindl.) Stein (Orchidaceae). Botanical journal of the Linnean Society. 121: 59-90.

Bänziger, H., S. Pumikong, and K. Srimuang. 2012. The missing link: bee pollination in wild lady slipper orchids Paphiopedilum thaianum and P. niveum (Orchidaceae) in Thailand. Mitteilungen der Schweizerischen Entomologischen Gesellschaft = Bulletin de la Société entomologique Suisse. 85: 1–26.

Bernhardt, P., R. Edens-Meier, E. Westhus, and N. Vance. 2014. Bee-mediated pollen transfer in two populations of Cypripedium montanum douglas ex Lindley. Journal of Pollination Ecology. 13(20): 188-202.

Cheng, J., J. Shi, F.-Z. Shangguan, A. Dafni, Z.-H. Deng, and Y.-B. Luo. 2009. The pollination of a self-incompatible, food-mimic orchid, Coelogyne fimbriata (Orchidaceae), by female Vespula wasps. Annals of Botany. 104(3): 565–571.

Kumar, P. and H. Rankou. 2015. Paphiopedilum villosum. The IUCN Red List of Threatened Species 2015: e.T201858A2723582. http://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2015-2.RLTS.T201858A2723582.en

Liu, Q., X. L. Wang, P. M. Finnegan, and J. Y. Gao. 2020. Reproductive ecology of Paphiopedilum spicerianum: Implications for conservation of a critically endangered orchid in China. Global Ecology and Conservation. 23: e01063.

Madan, A., P. L. Uniyal, and A. K. Bhatnagar. 2013. Sustenance of global orchid diversity requires understanding and simultaneous conservation of pollinators. Journal of The Orchid Society of India. 27(1-2): 87-107

Pakum, W., A. Kongbangkerd, K.-O. Srimuang, S.W. Gale, and S. Watthana. 2019. Reproductive biology of a rare, fly-pollinated orchid, Bulbophyllum nipondhii Seidenf., in Thailand. Flora. 260: 151467.

Pedersen, H.Æ., K.-O. Srimuang, H. Bänziger, and S. Watthana. 2018. Pollination-system diversity in Epipactis (Orchidaceae): new insights from studies of E. flava in Thailand. Plant Systematics and Evolution. 304: 895–909.

Pemberton, R. W. 2013. Pollination of slipper orchids (cypripedioideae): a review. Lankesteriana. 13(1-2): 65-73.

Shi, J., Y. B. Luo, P. Bernhardt, J. C. Ran, Z. J. Liu, and Q. Zhou. 2009. Pollination by deceit in Paphiopedilum barbigerum (Orchidaceae): a staminode exploits the innate colour preferences of hoverflies (Syrphidae). Plant Biology (Stuttgart). 11(1): 17-28.

Srimuang, K., S. Watthana, H. Æ. Pedersen, N. Rangsayatorn, and P. D. Eungwanichayapant. 2010. Flowering phenology, floral display and reproductive success in the genus Sirindhornia (Orchidaceae): A comparative study of three pollinator-rewarding species. Annales Botanici Fennici. 47(6): 439-448.