การประเมินผลระบบสารสนเทศการปฏิบัติสหกิจศึกษา กรณีศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

นิพจน์พัทธ์ เมืองโคตร
เอกชัย แน่นอุดร
เกรียงศักดิ์ จันทีนอก

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันงานด้านสหกิจศึกษา ฝ่ายกิจการนิสิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังมีปัญหาในการดำเนินงานอยู่ เช่น การเก็บรวมรวมข้อมูลสถานประกอบการที่สามารถรับนิสิตสหกิจศึกษาที่มีอยู่ส่วนกลาง ยากแก่การเข้าถึง มีการจัดเก็บที่ไม่เป็นระเบียบ ทำให้ยากแก่การสืบค้น ข้อมูลนิสิตที่ไม่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้สร้างเครื่องมือสำหรับงานด้านสหกิจศึกษาขึ้น เรียกว่า ระบบสารสนเทศสหกิจศึกษา (Cooperative Education Information System: CoEIS) จากนั้นผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามขึ้นเพื่อประเมินผลระบบสารสนเทศสหกิจศึกษา ของนิสิตหสกิจศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อให้เห็นถึงสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ไข รวมไปถึงประเด็นที่ควรนำมาพัฒนาต่อในอนาคต ซึ่งมีผู้สนใจตอบแบบสอบถามจำนวน 208 คน มีผู้ใช้ที่เป็นอาจารย์ 2 คน ผู้ใช้ที่เป็นนิสิต 206 คน จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นได้รับความพึงพอใจจากผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก เทียบได้กับระดับ 4 จาก 5 คะแนน นั่นหมายความว่าระบบสามารถแก้ไขปัญหาที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นได้เป็นอย่างดี และสามารถตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้เป็นอย่างดี ทำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน นิสิตสหกิจศึกษาผู้ใช้บริการ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ได้ใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลโดยรวมต่อกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
เมืองโคตร น., แน่นอุดร เ., & จันทีนอก เ. (2019). การประเมินผลระบบสารสนเทศการปฏิบัติสหกิจศึกษา กรณีศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 55–74. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/180990
บท
บทความวิจัย

References

ดวงดาว อุบลแย้ม. (2549). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน เรื่อง หลักการและเทคนิคการดูแลบาดแผล ด้วยระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Atutor สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ปีที่ 2. สระบุรี: วิทยาลัยพยาบาลสระบุรี.

นันทินา กิมตระกูล. (2550). ความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (e-Learning) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจวรรณ ชมชื่น และ ศิรินันท์ บัวใหญ่รักษา. (2555). ระบบสารสนเทศองค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยนุช วรบุตร และ สมชาย ปราการเจริญ. (2548). การพัฒนาระบบการบริหารการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจพ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ, 1(1), 8-14.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2549). Blended Learning: การเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค ICT (ตอนที่1). วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 1(2), 48-57.

สิงหะ ฉวีสุข และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2553). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1), 1-20.

Bhatnagar, R., Kumar, A. & Gupta, S. (2016). Role of information systems in an University Setup: A case study. International Journal of Computer Science and Electronics Engineering, 4(3), 151-156.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins.

Davis, F. (1986). A technology acceptance model for empirically testing new enduser information systems: theory and results. Cambridge, M.A.: Massachusetts Institute of Technology.

Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Contemporary Sociology, 6(2), 244-245.

Indrayani, E. (2013). Management of academic information system (AIS) at higher education in the city of Bandung. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 103, 628-636.

Manuhutu, M., Jola Uktolseja, L. & Gaspersz, S. (2018). Academic information system for student : Case study Victory University of Sorong. International Journal of Computer Applications, 180(43), 26-33.

Yang, S.C. & Liu, S.F. (2004). Case study of online workshop for the professional development of teachers. Computers in Human Behavior, 20, 733-761.