สงขลาเมืองแห่งไมซ์ เพื่อรองรับกลุ่มการท่องเที่ยว IMT-GT

Main Article Content

ณัฐกานต์ รัตนพันธุ์
พัชราภรณ์ บุญเลื่อง
อรทัย พงศ์เชี่ยวบุญ

บทคัดย่อ

          บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่สงขลาและวิเคราะห์ศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อรองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจากความร่วมมือเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT)  ในประเทศไทย การพัฒนาด้านไมซ์เป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สร้างงาน และกระจายรายได้ไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เป็นจำนวนมาก จากการศึกษานี้พบว่าจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุน การบริการ และคมนาคม ที่สำคัญของภาคใต้ตอนล่าง อีกทั้งเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่อนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และขนานนามให้เป็น“ศูนย์กลางการค้าชายแดนใต้ และความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรม” และจากการวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมไมซ์ในพื้นที่สงขลา พบว่า จังหวัดสงขลาเป็นเมืองแห่งจุดหมายปลายทางของการจัดประชุม สัมมนา การจัดงานแสดงสินค้า และงานอีเว้นท์ ให้กับนักท่องเที่ยวกลุ่ม IMT-GT โดยเฉพาะกลุ่ม 5 จังหวัดชายแดนใต้ และประเทศมาเลเซีย เนื่องจากอำเภอหาดใหญ่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อม มีศูนย์ประชุม และสถานที่จัดงานขนาดใหญ่ภายในโรงแรม มีออแกไนเซอร์ที่มีศักยภาพ รวมถึงหาดใหญ่เป็นเมืองแห่งสีสัน มีกิจกรรมพิเศษ จึงสามารถรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ได้ตลอดทั้งปี ในขณะที่สงขลามีความพร้อมด้านวัฒนธรรม จากการนำสถานที่ย่านชุมชนเมืองเก่า ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของชาวสงขลา รวมถึงการนำพื้นที่ทางวัฒนธรรมมาใช้เป็นสถานที่เพื่อจัดงานแสดงสินค้า หรืองานอีเวนต์ นอกจากนี้นโยบายจากภาครัฐมีการส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดภายใต้แนวคิด “สงขลามหาสนุก สุขทั้งปีที่สงขลา” ซึ่งกระตุ้นการท่องเที่ยวการจัดงานอีเว้นท์ และงานแสดงสินค้า จากนโยบายดังกล่าวส่งผลให้ภาคธุรกิจขานรับ และเร่งมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โรงแรม/ที่พัก สถานที่จัดงานประชุม สัมมนา งานแสดงสินค้า และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล เพื่อรองรับการจัดงานได้ตั้งแต่ตั้งแต่ระดับจังหวัด ประเทศ ไปจนถึงระดับนานาชาติ

Article Details

How to Cite
รัตนพันธุ์ ณ., บุญเลื่อง พ., & พงศ์เชี่ยวบุญ อ. (2017). สงขลาเมืองแห่งไมซ์ เพื่อรองรับกลุ่มการท่องเที่ยว IMT-GT. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 66–78. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/161202
บท
บทความวิจัย

References

ASTV Manager Online. (2015). Knowledge Management from Experiences in Preservation of an Old Town. Retrieved November 28, from https://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx NewsID=9580000060894 (In Thai)

IMT-GT Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle. (2012) Implementation Blueprint 2012-2016. Retrieved December 1, 2016, from https://imtgt.org/Documents/IMTGT_Implementation_Blueprint_2012-2016.pdf

McCartney, G. (2010). Event Management: an Asian Perspective. Singapore:McGraw-Hill Education (Asia).

Ministry of Tourism and Sport. (2011). Thailand Tourism Plan 2012-2016. Retrieved November 28, from https://www.tica.or.th/images/plan_tourism2555-2559/2555-2559.pdf (In Thai)

Suwanjit, W. (2014). Factors Influencing Tourists’ Decision Making to Travel to Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle (IMT-GT): only within Thailand Area. Journal of Services and Tourism, 9(1), 18-33. (In Thai)

Thailand Convention & Exhibition Bureau. (2015). Thailand’s MICE Industry Report. Bangkok : TCEB. (In Thai)

Thailand Convention & Exhibition Bureau. (2009). Statistics of Meeting Incentive Exhibition and Convention Report. Bangkok : TCEB. (In Thai)

Thailand Convention & Exhibition Bureau. (2010). Marketing Development Plan for MICE. Bangkok : TCEB. (In Thai)

Thailand Convention & Exhibition Bureau. (2011). Understand MICE Business. (Copy).Bangkok : TCEB. (In Thai)

Thailand Convention & Exhibition Bureau. (2014). MICE Venue Assessment and Selection (MICE City). Bangkok : TCEB. (In Thai)

The Center for International Trade Studies, School of Economics, University of the Thai Chamber of Commerce (2010). Economic Policy of Thailand, Malaysia, and Indonesia. Retrieved November 29, from https://www.thaifta.com/trade/study/imtgt_chap4.pdf (In Thai)