ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

สุภาวลัย วงศ์ใหญ่
เนตรดาว ชัยเขต
ดวงกมล นีรพัฒนกุล

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าบริษัทของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ย้อนหลัง 5 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 จำนวน 362 บริษัท จำนวนข้อมูล 1,810 ข้อมูล โดยวิเคราะห์แบบกลุ่มอุตสาหกรรมและแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้ไม่รวมกลุ่มธุรกิจการเงิน เนื่องจากมีโครงสร้างเงินทุนที่แตกต่างจากธุรกิจอื่นทั่วไป ในงานวิจัยฉบับนี้วัดโครงสร้างเงินทุน โดยใช้อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นรวม และวัดมูลค่าบริษัทจากสูตรในการคำนวณ Tobin’s Q ตามแนวทางของ Chung and Pruitt (1994) โดยมีตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของบริษัท ความสามารถในการทำกำไร สินทรัพย์ที่มีตัวตน และโอกาสในการเติบโต และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple regression analysis)  ในการทดสอบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า หนี้สินในโครงสร้างเงินทุนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับมูลค่าบริษัท กล่าวคือ หากบริษัทที่มีหนี้สินในโครงสร้างเงินทุนสูงจะมีมูลค่าบริษัทต่ำ เมื่อทดสอบโดยแยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมพบความสัมพันธ์เชิงลบดังกล่าวใน กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มบริการ แสดงว่า หากบริษัทในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มทรัพยากร และกลุ่มบริการมีหนี้สินในโครงสร้างเงินทุนที่สูงจะส่งผลให้มูลค่าบริษัทลดลง และยังพบว่าตัวแปรควบคุม คือ ขนาดบริษัท โอกาสในการเติบโต มีความสัมพันธ์เชิงลบกับมูลค่าบริษัท ในส่วนของความสามารถในการทำกำไร และสินทรัพย์ที่มีตัวตน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับมูลค่าบริษัท

Article Details

How to Cite
วงศ์ใหญ่ ส., ชัยเขต เ., & นีรพัฒนกุล ด. (2017). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับมูลค่าบริษัท กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(3), 1–17. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/161227
บท
บทความวิจัย

References

นารีรัตน์ เทียมรัตน์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับการจัดการกำไร:กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิต สาขาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เนาวรัตน์ ศรีพนากุล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาบริษัทที่อยู่ในกลุ่มดัชนี SET 50. การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการเงิน คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2556). วิเคราะห์งบการเงิน : หลักและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Anup, C. & Cowdhury, S. P. (2010). Impact of capital structure on firm’s value: Evidence from Bangladesh. BEH - Business and Economic Horizons, 3(3), 111-122.Hirshleifer, D. & Anjan, V. T. (1989). Managerial reputation, project choice and debt, Working paper #14-89. California: School of Management at UCLA.


Jensen, M. C. & William, H. M. (1998). Divisional performance measurement. Cambridge: Harvard University.

Joshua, A. (2005). The effect of capital structure on profitability: an empirical analysis of listed firms in Ghana. The Journal of Risk Finance, 6(5), 438 – 445.

Lindenberg, E. B. & Ross, S. A. (1981). Tobin's q ratio and industrial organization. The Journal of Business, 54(1), 1-32.

Modigliani, F. & Miller, H. M. (1958). The cost of capital, corporation finance, and the theory of investment. American Economic Review, 48, 261-297.

Modigliani, F. & Miller, H. M. (1963). Income taxes and the cost of capital: A correction. The American Economic Review, 53(3), 433-443.

Myers, S. C. (2001). Capital structure. Journal of Economic Perspectives, 15, 81–102.

Myers, S. C. & Majluf, N. (1984). Corporate financing and investment decisions when firms have Information that investors do not have. Journal of Financial Economics, 13, 187–221.

Odongo, K. M. M. & Leonard, M. (2014). Capital structure, Profitability and firm value: panel evidence of listed firms in Kenya. Retrieved March 1, 2017, from https://mpra.ub.uni-muenchen.de/57116/1/MPRA_paper_57116.pdf

Simona, M. (2014). Capital structure and firm value, Empirical evidence from Romanian listed companies. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 4(1), 287–292.

Tiago, R. L. & Joao, F. C. (2013). Capital structure, Cash holdings and firm value: A study of Brazilian listed firms. 25(64), 46-59.

Zahra, B., Farhad, S. & Babak, J. (2013). Correlation between financial leverage and firm value in companies listed in the Tehran stock exchange: A case study. Research Journal of Finance and Accounting, 4(5), 39-40.