ผลของการรับรู้กระบวนการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการคลินิกเทคนิคการแพทย์ในภาคเหนือต่อความสำเร็จด้านการตลาด

Main Article Content

ปวีณา วงศ์วิลัย
ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรับรู้กระบวนการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการคลินิกเทคนิคการแพทย์ในภาคเหนือต่อความสำเร็จด้านการตลาด ใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการคลินิกเทคนิคการแพทย์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากประชากรซึ่งเป็นผู้ประกอบการคลินิกเทคนิคการแพทย์ในภาคเหนือจำนวน 101 แห่ง เมื่อตรวจสอบข้อมูลแล้วมีที่ใช้ได้ 96 แห่งคิดเป็นร้อยละ 95.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน คือ การทดสอบการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีระยะเวลาในการทำงานโดยใช้วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ 6 - 10 ปี ในคลินิกเทคนิคการแพทย์มีพนักงาน 4-6 คน และยังไม่มีการรับรองมาตรฐานทางห้องปฏิบัติการ จำนวนลูกค้าที่เข้ารับบริการต่อเดือน 500 คนขึ้นไป โดยส่วนใหญ่ให้บริการตรวจทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยา (การตรวจหาระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย) และเคมีคลินิก (การตรวจหาปริมาณสารชีวเคมีต่างๆ)


          การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการวัดผลการปฏิบัติงานในกระบวนการห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจบริการของ Hoda Mehrparvar (2012) และแนวคิดความสำเร็จด้านการตลาดประกอบด้วย 4 ปัจจัยย่อย ได้แก่ ด้านกำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้น การลดลงของต้นทุน ยอดขายเพิ่มขึ้น และจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ด้านการจัดการข้อมูลและระบบสารสนเทศของคลินิกเทคนิคการแพทย์ สามารถอธิบายการรับรู้ความสำเร็จด้านการตลาดได้ร้อยละ 79.4
ปัจจัยย่อยด้านการจัดการข้อมูลและระบบสารสนเทศของคลินิกเทคนิคการแพทย์ที่ส่งผลต่อภาพรวมของการรับรู้ความสำเร็จด้านการตลาด ประกอบด้วย 5 ปัจจัยย่อย เรียงตามค่าน้ำหนักสัมประสิทธิ์ถดถอยได้ดังนี้ 1) ความถูกต้องของการสื่อสารข้อมูลกับลูกค้า 2) การใช้ข้อมูลในการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง 3) การใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อติดต่อภายในคลินิกเทคนิคการแพทย์ 4) ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารข้อมูลกับลูกค้าและความสามารถในการติดตามข้อมูลที่ถูกต้องและ 5) ความสามารถในการติดตามข้อมูลที่ถูกต้องในการจัดการกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ โดยใช้ระบบเทคโนโลยี ส่วนปัจจัยย่อยของการรับรู้ความสำเร็จด้านการตลาด พบว่าการรับรู้ด้านการจัดการข้อมูลและระบบสารสนเทศของคลินิกเทคนิคการแพทย์ส่งผลความสำเร็จด้านการตลาดด้านกำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วย 2 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1) ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารข้อมูลกับลูกค้าและ 2) การใช้ข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการจัดการและตัดสินใจ ด้านยอดขายเพิ่มขึ้นประกอบด้วยปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้กระบวนการปฏิบัติงานในด้านการจัดการข้อมูลและระบบสารสนเทศและด้านการจัดการการบริการลูกค้า ประกอบด้วย 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่
1) ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารข้อมูลกับลูกค้า 2) การพัฒนาความสัมพันธ์กับคู่ค้าและ 3) การทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า ด้านต้นทุนลดลงและด้านจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นมีเพียงปัจจัยหลักปัจจัยเดียวคือ การรับรู้ด้านการจัดการข้อมูลและระบบสารสนเทศของคลินิกเทคนิคการแพทย์ ประกอบด้วยย่อยปัจจัยเดียว ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารข้อมูลกับลูกค้า ด้านจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 3 ปัจจัยย่อย ได้แก่ 1) การใช้ข้อมูลในการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกต้อง 2) การใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อติดต่อภายในคลินิกเทคนิคการแพทย์และ 3) ความสามารถในการติดตามข้อมูลที่ถูกต้องในการจัดการกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการโดยใช้ระบบเทคโนโลยี

Article Details

How to Cite
วงศ์วิลัย ป., & กลั่นกลิ่น ป. . (2022). ผลของการรับรู้กระบวนการปฏิบัติงานของผู้ประกอบการคลินิกเทคนิคการแพทย์ในภาคเหนือต่อความสำเร็จด้านการตลาด . วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 16–33. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kkbsjournal/article/view/247317
บท
บทความวิจัย

References

Arnett, D.B. & Witmann, C.M. (2014). Improving marketing success: The role of tacit knowledge exchange between sales and marketing. Journal of Business Research, 63(3), 324 - 331.

Bauer, H.H. & Hammerschmidt, M. (2005). Customer - based corporate valuation: Integrating the concepts of customer equity and shareholder value. Management Decision, 43(3), 331 - 348.

Bernstein, D.A. (1999). Essentials of psychology. Boston: Houghton Mifflin.

Chanida P. (2011). Service supply chain processes: development and validation of a multi-item measurement scale. Bangkok: Thammasat Business School, Thammasat University. (In Thai)

Chiang Mai University, Faculty of Medicine. (2018). Outpatient services. Retrieved March 10, 2018, from www.med.cmu.ac.th/hospital/opd/2013/opd (In Thai)

Cooper, R. & Kaplan, R.S. (1991). Profit priorities from activity-based costing. Harvard Business Review, 69, 130-135.

Foster, G. & Gupta, M. (1994). Marketing, cost management and management accounting, Journal of Management Accounting Research, 6, 43 - 77.

Guerreiro, R., Bio, S.R. & Merschmann, E.V.V. (2008). Cost to serve measurement and customer profitability analysis. The International Journal of Logistics Management, 19(3), 389 - 407.

Guntalee R. (2008). Marketing research. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Hair, J., Money, A., Page, M. & Samouel, P. (2007). Research methods for business. London: Routledge.

Harlow, H. (2008). The effect of tacit knowledge on firm performance. Journal of Knowledge Management, 12(1), 148 - 163.

Howard, M.C. (2016). A review of exploratory factor analysis decisions and overview of current practices: What we are doing and how can we improve? International Journal of Human-Computer Interaction, 32(1), 51-62

Ministry of Public Health. (2015). Public health statistics A.D.2015. Bangkok: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health.

Ministry of Public Health. (2018). Public health statistics A.D.2018. Bangkok: Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health.

Napattara J. (2018). Relationship between of service excellent strategy and marketing success of spa business in Thailand. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, 14(2), 87-108. (In Thai)

Prapaipit, S. (2013). International accounting systems. Bangkok: Kasetsart University Press. (In Thai)

Puangthong, K. (2013). Laboratory investigation. Retrieved March, 11, 2018, from http://haamor.com (In Thai)

Ratchakitcha. (2015). Determining the characteristics of medical establishments and service characteristics of hospitals, B.E. 2558 (2015). Vol. 132, No.26, 23-32.

Shahin, A., Mehrparvar, H. & Karbasian, M. (2014). Performance indicators in a service supply chain. International Journal of Economy, Management and Social Sciences, 3(10), 582-588.

Soravit, P. (2012). Competitive advantage and entrepreneurship effect to marketing success of Thailand tourism business. Nakhon Ratchasima: Faculty of Business Administration Rajamangala University of Technology Isan. (In Thai)

Stone, M. & Woodcock, N. (2013). Interactive, direct and digital marketing: A future that depends on better use of business intelligence. Journal of Research in Interactive Marketing, 8(1), 4-17.

Van Raaij, E.M. (2005). The strategic value of customer profitability analysis. Marketing Intelligence & Planning, 23(4), 372-381.

Zeithaml, V.A., Trust, R.T. & Lemon, K.N. (2001). The customer pyramid: Creating and serving profitable customers. California Management Review, 43(4), 118-142.