Announcements
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสำหรับวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้อมูลพื้นฐาน: วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Political Science Review) เจ้าของคือ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยินดีต้อนรับคณาจารย์ นักวิชาการ/นักวิจัย และนิสิต/นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ หรือ บทวิจารณ์บทความ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ซึ่งมีรูปแบบการกลั่นกรองบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิก่อนลงตีพิมพ์ แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ห้วงระหว่าง เดือนมกราคม - มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 ห้วงระหว่าง เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม)
ข้อมูลกองบรรณาธิการ:
- รศ. ดร.วัลลภ รัฐฉัตรานนท์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่ง บรรณาธิการบริหาร
- ศ.ดร.ติน ปรัชญพฤทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศ.ดร.จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย
- ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย
- รศ.ดร.สมเกียรติ วันทะนะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รศ.ดร.วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตวังน้อย
- รศ.ดร. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผศ.ดร. อรนันท์ กลันทะปุระ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- รศ.ดร.ปิยากร หวังมหาพร มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- ผศ.ศาสตรินทร์ตันสุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผศ.ดร. ภิรดาชัยรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผศ.ดร. ลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ผศ.ดร. ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
- อ.ฑภิพรสุพร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- อ.อัยรวีวีระพันธ์พงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- อ.ดร.นพพลอัคฮาด มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์ของการจัดทำวารสาร: เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับคณาจารย์ นักวิชาการ/นักวิจัย และนิสิต/นักศึกษา รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ในการเผยแพร่ผลงานวิชาการ/วิจัย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดความเห็น ตลอดจน เป็นแหล่งค้นคว้าที่น่าเชื่อถือและมีความเป็นปัจจุบัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อตกลงเฉพาะของกองบรรณาธิการ:
- บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องในวารสารจะต้องถูกส่งผ่านระบบออนไลน์ที่เว็ปไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj และได้รับการตรวจคุณภาพทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ (Peer review) แล้ว
- ข้อคิดเห็นใดๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการบริหารปกครองเล่มนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ประการใด
- กองบรรณาธิการวารสาร ไม่สงวนสิทธิคัดลอกเนื้อหาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหาในบทความต่างๆ แต่ให้อ้างอิงที่มาของข้อความที่นำไปกล่าวอ้างในที่ต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ
ข้อกำหนดของต้นฉบับบทความ:
- เป็นบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) หรือ บทวิจารณ์บทความ (Article Review) ในสาขารัฐศาสตร์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาโดยวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่นใด ยกเว้นเป็นการรวบรวมผลงานที่ได้นำเสนอในการประชุมทางวิชาการ
- จัดพิมพ์อยู่ในรูปแบบภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ ภาษาใดภาษาหนึ่ง เท่านั้น ตลอดบทความ
- มีความยาวของต้นฉบับอยู่ระหว่าง 10 ถึง 15 หน้า กระดาษ A4
- รูปแบบของบทความวิชาการ ประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา บทสรุป กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ เอกสารและสิ่งอ้างอิง
รูปแบบของเนื้อหาบทความ: ประกอบด้วย ชื่อเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้แต่งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ เอกสารและสิ่งอ้างอิง
สำหรับบทความภาษาไทย ใช้แบบอักษร TH Sarabun New ขนาด 14 สำหรับบทความภาษาอังกฤษ ใช้แบบอักษร Time New Roman ขนาด 12 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
รายการ |
ลักษณะตัวอักษร |
รูปแบบการพิมพ์ |
ขนาดตัวอักษร |
ชื่อบทความ |
เน้น |
กลางหน้ากระดาษ |
16 |
ชื่อผู้แต่ง |
ปกติ |
กลางหน้ากระดาษ |
14 |
บทคัดย่อ |
เน้น |
กลางหน้ากระดาษ |
14 |
หัวข้อแบ่งตอน |
เน้น |
กลางหน้ากระดาษ |
14 |
หัวข้อย่อย |
เน้น |
ชิดซ้าย |
14 |
บทความ |
ปกติ |
ชิดซ้าย |
14 |
ข้อความในตาราง |
ปกติ |
- |
12 |
เอกสารและสิ่งอ้างอิง |
เน้น |
กลางหน้ากระดาษ |
14 |
การเขียนรายการอ้างอิง: การอ้างอิงภายในเนื้อหาบทความ ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ นาม-ปี (Author-Date) และการอ้างอิงท้ายบทความ ใช้ระบบการอ้างอิงแบบ สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (American Psychological Association - APA)
สถานที่ติดต่อ: กองบรรณาธิการ รัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 02-942-8579โทรสาร 02-942-8579 เว็ปไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj อีเมลล์ kupsrj@gmail.com
รายละเอียดขั้นตอนการใช้งานวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบบออนไลน์ในระบบ ThaiJo2.0
ขั้นตอนที่ 1: การสมัครสมาชิกและการนำต้นฉบับบทความเข้าสู่ระบบ โดยดำเนินการดังนี้
1) ผู้ที่ต้องการใช้งานวารสารออนไลน์จะไปเข้าไปที่ https://www.tci-thaijo.org/ และค้นหาชื่อวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2) เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/user/register แล้วลงทะเบียนการใช้งาน เพื่อกำหนด Username และ Password สำหรับผู้ใช้งานในการเข้าสู่ระบบ ด้วยข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร
3) เมื่อเข้าสู่ระบบใช้งานแล้ว ให้ทำการบันทึกข้อมูลส่วนตัวโดยระบุตัวตนของผู้ใช้งานในเว็บวารสาร โดยเฉพาะเฉพาะตำแหน่งที่ท่านต้องการ เช่น ผู้แต่ง สำหรับผู้ที่ต้องการส่งบทความเข้าสู่ระบบ
4) เมื่อบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ต้องการส่งบทความ ให้เลือกแถบด้านซ้ายที่ชื่อว่า “บทความ” แล้วคลิกที่ “ส่งบทความเรื่องใหม่” ซึ่งต่อไปท่านสามารถนำต้นฉบับบทความของท่านอัพโหลดเข้าสู่ระบบได้ตามขั้นตอนได้
5) เมื่อผู้ส่งต้นฉบับได้ทำการส่งต้นฉบับบทความครบทั้ง 5 ขั้นตอนได้แก่ 1. เริ่มการส่ง 2. อัปโหลดไฟล์ประกอบบทความ 3. ลงข้อมูลรายละเอียดบทความ (Metadata) 4. ยืนยันการส่ง และ 5. ขั้นตอนต่อไป ตามที่เว็บไซต์กำหนดแล้ว หากสำเร็จตามขั้นตอนจะมี E-mail (อีเมล) อัตโนมัติจากบรรณาธิการบริหาร (รองศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ รัฐฉัตรานนท์) แจ้งเตือนไปยัง E-mail (อีเมล) ส่วนตัวของผู้ใช้งานที่ได้ลงทะเบียนไว้
ขั้นที่ 2: การพิจารณาเบื้องต้นของบรรณาธิการ
1) เมื่อต้นฉบับบทความของท่านเข้าสู่ระบบวารสารออนไลน์แล้ว จะเป็นหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editor) หรือผู้ดูแลระบบวารสาร (Manager) ของกองบรรณาธิการวารสารที่จะติดต่อประสานงานกับท่าน โดยแจ้งข้อความผ่านช่องทาง ดังภาพ ไปยังอีเมลของผู้ส่งบทความเพื่อทราบ
2) ผู้ใช้งานสามารถรับทราบข้อความการสนทนาแจ้งข่าวสารจากบรรณาธิการ และติดต่อบรรณาธิการได้โดยผ่านลิ้งค์เข้าสู่ระบบวารสารใน E-mail (อีเมล) ส่วนตัว หรือเข้าผ่านระบบการใช้งานโดยใช้ Username และ Password ที่ลงทะเบียนไว้ เพื่อดำเนินการตามคำชี้แจงและตรวจสอบความก้าวหน้าของการพิจารณาและกระบวนการทำงานของกองบรรณาธิการวารสารได้
ขั้นที่ 3: การพิจารณาคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
1) การกลั่นกรองบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิก่อนลงตีพิมพ์ แบบผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-Blind Peer Review) โดยกองบรรณาธิการจะใช้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ใน 3 คน ซึ่งมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาเอก หรือรองศาสตราจารย์ในสาขา/ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความของผู้เขียน ซึ่งใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือนนับแต่วันที่มีการแจ้งข่าวสารจากบรรณาธิการในขั้นตอนที่ 2 และกองบรรณาธิการจะได้ส่งต้นฉบับบทความที่ปรับแก้ไม่ให้ทราบชื่อผู้แต่งไปยังผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่อยู่ในระบบเพื่อทำการประเมินแบบออนไลน์
2) เมื่อได้รับผลการประเมินคุณภาพและความเห็นจากผู้ทรงคุณภาพที่ทำการพิจารณาคุณภาพบทความ (Review) ผ่านระบบแล้ว บรรณาธิการวารสารจะทำการสรุปความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดต่อประเด็นการแก้ไขหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ในเนื้อหาบทความของผู้เขียน และแจ้งผลไปยังผู้เขียนซึ่งจะแบ่งออกเป็นมี 3 รูปแบบได้แก่ 1) ให้แก้ไขบทความตามที่ผู้ทรงคุณได้มีข้อท้วงติงและข้อเสนอแนะไว้ 2) ให้ตอบรับบทความไว้เลยโดยไม่ต้องปรับแก้ไขต้นฉบับบทความของผู้เขียนแต่อย่างใด และ 3) ให้ปฏิเสธบทความ เนื่องจากคุณภาพของบทความไม่สามารถยอมรับให้ทำการเผยแพร่ในวารสารได้ ซึ่งจะแจ้งผ่านระบบไปยังผู้เขียนบทความเพื่อให้ทราบ
ขั้นที่ 4: การปรับปรุงแก้ไขต้นฉบับบทความ
1) หลังจากผู้ส่งบทความได้รับทราบผลการพิจารณาคุณภาพบทความจากบรรณาธิการ ที่ได้ส่งข้อความและเอกสารแนบผ่านระบบวารสารออนไลน์ ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนไปยัง E-mail (อีเมล) ส่วนตัวของผู้ส่งบทความที่ลงทะเบียนไว้ ซึ่งสามารถคลิกลิ้งค์เข้าไปยังหน้าเว็บไซต์เพื่อทราบข้อความเต็มในระบบได้
2) เมื่อผู้ส่งบทความได้รับทราบการแจ้งเตือนจากบรรณาธิการแล้ว ให้ดาวโหลดไฟล์เอกสาร “แบบสรุปผลการประเมินคุณภาพบทความ” ในเอกสารแนบเพื่ออ่านทำความเข้าใจและทำการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบทความของตนเองตามประเด็นต่างๆ ให้มีคุณภาพ ซึ่งแบบสรุปผลการประเมินคุณภาพบทความจะมีรายละเอียดต่างๆ
ขั้นที่ 5: การตอบรับการตีพิมพ์
1) เมื่อผู้เขียนบทความได้ทำการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาบทความของตนแล้ว ให้ผู้เขียนบทความส่งต้นฉบับบทความที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วกลับเข้าไปในระบบ โดยการคลิก “ตั้งกระทู้สนทนา” ในส่วนของการพิจารณา (Review) เพื่อแจ้งการปรับปรุงแก้ไขและอัปโหลดบทความต้นฉบับที่แก้ไขแล้วเป็นไฟล์ word กลับเข้าไปในระบบวารสารอีกครั้งเพื่อให้บรรณาธิการได้ตรวจสอบ
2) เมื่อบรรณาธิการ (Editor) ได้รับต้นฉบับบทความที่ผู้ส่งบทความได้ปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบความถูกต้องของประเด็นต่างๆ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้ผู้เขียนบทความทำการปรับปรุงแก้ไขแล้ว จะทำการตอบกลับผลให้ทราบภายใน 7 วัน และหากเนื้อหาบทความมีความถูกต้องและได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้ว บรรณาธิการจะออกใบตอบรับให้เป็นไฟล์ PDF ทางระบบออนไลน์ เพื่อยืนยันการตอบรับบทความดังตัวอย่าง
6. การเผยแพร่บทความสู่ระบบออนไลน์
1) บทความที่ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว จะถูกทำให้เผยแพร่โดยบรรณาธิการผ่านระบบออนไลน์ตามห้วงระยะเวลาที่กำหนดในใบตอบรับ เช่น กำหนดเผยแพร่ในวารสารปีที่ X ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) บทความดังกล่าวก็จะมีกำหนดเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบออนไลน์ในเว็บไซต์ของวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/kupsrj/index
2) สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้อ่านบทความ (Reader) ในขั้นตอนการสมัครลงทะเบียนการใช้งาน จะได้รับอีเมล์ (E-mail) แจ้งเตือนเพื่อทราบว่าวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการเผยแพร่บทความของเล่มล่าสุด/เล่มปัจจุบันเพื่อเผยแพร่ในระบบออนไลน์แล้ว ดังนั้นผู้ที่ส่งบทความในฐานะผู้เขียน (Author) ควรสมัครเป็นผู้อ่าน (Reader) ในการลงทะเบียนการใช้งานวารสารด้วย เพื่อทำให้รับทราบการแจ้งเตือนการเผยแพร่บทความต่างๆ ที่มีการเผยแพร่ในวารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ ฯ หรือจะทำการค้นชื่อบทความ หรือชื่อผู้เขียน หรือวารสาร ด้วยการ Search ในหน้าเว็บไซต์หลักของศูนย์ TCI ที่ https://www.tci-thaijo.org/ก็ได้