การจัดความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารที่ผิดพลาด จากรัฐประหารปี 2549 สู่รัฐประหารปี 2557 : บทเรียนสู่สังคมไทยเพื่อการปฏิรูปกองทัพ

ผู้แต่ง

  • อรรถพล เมืองมิ่ง
  • ศิวัช ศรีโภคางกุล

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหาร, บทบาทของทหารในทางการเมือง, การปฏิรปูกองทัพไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหาร หลังการรัฐประหารปี 2549 ซึ่งเน้นศึกษาในช่วงรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นหลัก โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร ด้วยการศึกษาค้นคว้าและเก็บรวบรวม ข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร รายงาน บทความ รวมถึงบทวิเคราะห์หรือข่าวจากสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า หลังการรัฐประหารในปี 2549 เป็น ต้นมา ทหารได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลทางการเมืองมาโดยตลอด แม้จะมีรัฐบาลพล เรือนที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ไม่สามารถ จัดความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารที่เหมาะสมได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย การมีท่าทีในการประนีประนอมและความเกรงใจต่อกองทัพเพื่อ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกองทัพซึ่งถือเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างหนึ่ง จึงทำให้กองทัพดำรงอยู่ในการเมืองต่อไป นอกจากนี้ การที่รัฐบาลพลเรือนสร้างเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหาร โดยเฉพาะ ปัจจัยแวดล้อมภายนอก ทั้งความชอบธรรมของรัฐบาล การขาดเสถียรภาพในการ บริหารงานจากวิกฤตความขัดแย้ง หรือการที่สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับผลกระทบ กระเทือน ส่งผลให้ดุลยภาพในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างพลเรือนและทหารในระบอบ ประชาธิปไตยเปลี่ยนไป จนทำให้ทหารสามารถเข้าสู่อำนาจทางการเมืองอย่างเต็มรปูแบบ และมีอำนาจเหนือพลเรือนในปี 2557

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26