การพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนเข้มแข็งจากการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวง
คำสำคัญ:
มูลนิธิโครงการหลวง, การจัดการความรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนไปสู่ชุมชนเข้มแข็งจากการจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวง ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง จานวน 22 ท่าน ด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีการศึกษาเชิงปริมาณ จากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิโครงการหลวงดอยอินทนนท์ จานวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 ระดับ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตีความข้อมูล (Interpretation) การสังเคราะห์ข้อมูล (Data Synthesis) พร้อมทั้งการสร้างข้อสรุป (Generalization)
ผลการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้ของมูลนิธิโครงการหลวงมุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรในเขตพื้นที่สูงให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยการส่งเสริมภาคเกษตร ผ่านการสนับสนุนการทดสอบ สาธิต วิจัย ด้วยวิธีการจัดการความรู้ผ่านระบบการจัดการของโครงการหลวง สถานที่ตั้งของโครงการหลวง ฝ่ายพัฒนา เอกสาร สิ่งพิมพ์ งานวิจัย เทคโนโลยีสื่อต่างๆ และตัวบุคคล นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ โดยระบบและกลไกในการจัดการความรู้เปิดโอกาสให้คนในชุมชนในการร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นบูรณาการมีลักษณะของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม (Participatory Development) ชาวไทยภูเขา ชุมชน องค์กรระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษา หรือ หน่วยงานภาครัฐ ส่งผลทาให้ชุมชนมีความเข้มแข็งโดยประชาชนชาวไทยภูเขาหรือเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนในชุมชนมีนึกถึงผลประโยชน์ต่อส่วนรวม มีจิตสานึกมีความรับผิดชอบ ชุมชนภายในโครงการหลวงมีความรักท้องถิ่น รักชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยความพอเพียง ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ชุมชนภายในโครงการหลวงมีจิตเอื้ออาทรต่อกันและชุมชนภายในโครงการหลวงสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ในชุมชนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ