ความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมือง, การกล่อมเกลาทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทย 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทยตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยภายนอก ลักษณะของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ 2) นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาในเขตภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น จานวน 600 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ SEM
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง18-25 ปีที่กาลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที 6 และระดับอุดมศึกษาจาแนกตามรายภาคทั้ง 6 ภาค ส่วนใหญ่มีระดับความเป็นพลเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=4.01, S.D.=.490) โดยเยาวชนส่วนใหญ่มีความเป็นพลเมืองในด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รองลงมาได้แก่ ด้านยึดมั่นในความถูกต้อง ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านการมีส่วนร่วมตามลาดับ
เยาวชนไทยได้รับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระดับมาก และรับรู้ข่าวสารทางการเมืองผ่านอินเตอร์เน็ต เยาวชนไทยพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ภูมิลาเนา การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง การพูดคุยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการกล่อมเกลาทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทยอย่างมีนัยสาคัญที่ .01
ผลการวิเคราะห์ SEM พบว่า การกล่อมเกลาทางการเมืองจากครอบครัว เพื่อน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน ศาสนา และพรรคการเมืองมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความเป็นพลเมืองของเยาวชนไทยอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-01-31