ปัจจัยที่มีผลต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนไทย

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์

คำสำคัญ:

การกล่อมเกลาทางการเมือง, เยาวชนไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการอบรมกล่อมเกลาทาง
การเมืองของเยาวชนไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภายนอกที่มี
ผลต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนไทย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิง
ปริมาณ (quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) นักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 6 ในสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
แ ล ะ 2 ) นัก ศึก ษ า ใน ร ะ ดับ อุด ม ศึก ษ า ใน เข ต ภ า ค ก ล า ง ภ า ค ใต้ ภ า ค
ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น จานวน 600 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือสาหรับการวิจัย
คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า One-way Anova
ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ได้รับการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง
ในระดับมาก (x̅ = 3.72, S.D. = .468) โดยเยาวชนได้รับการกล่อมเกลาจาก
ครอบครัวมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สถาบันการศึกษา ศาสนา เพื่อน สื่อมวลชน และ
พรรคการเมือง ตามลาดับ
ซึ่งผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการอบรม
กล่อมเกลาทางการเมืองของเยาวชนไทย พบว่า อายุ ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผล
ต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05 (F = 6.730, Sig. = .000, F = 8.712, Sig. = .000) โดยที่ช่อง
ทางการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองที่ และการพูดคุยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทาง
สังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่ต่างกันมีผลต่อการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง โดย
ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (F = 4.054, Sig. =
.018, F = 7.043, Sig. = .000)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-31