ความคิดเห็นของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น, นักการเมือง, นักการเมืองที่พึงประสงค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะนักการเมืองที่ พึงประสงค์ของนิสิตระดับบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) เปรียบเทียบคุณลักษณะของนักการเมืองที่พึงประสงค์ตามความคิดของนิสิตระดับบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จาแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ภูมิลาเนา และภาควิชา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทย และความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยกับความคิดของนิสิตระดับบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์
กลุ่มประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ นิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จานวน 116 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มประชากร นามาประมวลผลด้วยโปรแกรมสาเร็จรูปทางสถิติ สาหรับค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าสถิติร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสถิติ t-test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทาการทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการ LSD (Least-Significant Different)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มประชากรมีความคิดเห็นต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์ในระดับมาก โดยเห็นด้วยกับประเด็นที่นักการเมืองที่ดีต้องเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกล ไม่คับแคบ และดื้อรั้น ต้องเปิดกว้าง และรับฟังความคิดเห็นหลาย ๆ ฝ่าย ๆ มาก สาหรับผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นิสิตที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่นิสิตที่มี เพศ สาขาวิชา ภูมิลาเนา ต่างกันมีความคิดเห็นต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนความรู้เกี่ยวกับการเมืองไทยและความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ต่อนักการเมืองที่พึงประสงค์ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้