หนี้สินกับการบริโภค

ผู้แต่ง

  • รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบุรพา

คำสำคัญ:

หนี้, วัฒนธรรมผู้บริโภค, การบริโภคนิยม, ครู

บทคัดย่อ

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและวัฒนธรรมการบริโภคทำให้ผู้คนมีโอกาสและทางเลือกมากขึ้น โดยเฉพาะการซื้อสินค้าและบริการ แต่โอกาสและทางเลือกเหล่านั้นกลับถูกครอบงำจากผู้ผลิตจำนวนน้อยราย การแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ การตลาด การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ จึงดูเหมือนว่าผู้บริโภคมีทางเลือกและได้สินค้าและบริการที่ดีที่สุดและถูกที่สุด ผู้บริโภคซึ่งมีภาระทางการเงินอยู่แล้วจึงตกอยู่ในกระแสของวัฒนธรรมการบริโภคที่ต้องจ่ายมากขึ้นทั้ง ๆ ที่เกินความสามารถที่จะจ่ายได้ ประกอบกับสังคมที่มีค่านิยมแบบวัตถุนิยมที่กระตุ้นให้ต้องบริโภคมากขึ้น นำไปสู่สภาวะความเป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ผู้ที่เป็นหนี้หลายรายก็เป็นหนี้นอกระบบและจึงไปเป็นหนี้ในระบบ เพราะไม่สามารถจัดการกับดอกเบี้ยและเงินต้นได้ บางคนก็เป็นหนี้ในระบบหลายสถาบันการเงิน บุคคลจากบางอาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคมสามารถกู้จากสถาบันทางการเงินได้ง่าย และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก พนักงานธนาคารยังเข้ามานำเสนอถึงข้อเสนอต่างๆ และรายละเอียดของการกู้ถึงที่ทำงาน สภาพการณ์เหล่านี้ทำให้ผู้เป็นหนี้จึงยังคงตกอยู่ในสภาวะของการเป็นหนี้ซ้ำซากและวนเวียนอยู่ในวงจรนี้อย่างไม่มีทางออก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสภาพของปัญหาการบริโภคของกลุ่มครูโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-28