ทฤษฏีตอบโต้การท้าทายกับการพัฒนาสถาบันทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ราชบัณฑิตยสถาน

คำสำคัญ:

ทฤษฎีตอบโต้การท้าทาย, การพัฒนาสถาบันทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้อ้างอิงทฤษฎีตอบโต้การท้าทาย ของ อาร์โนลด์ ทอยน์บี ที่เขียนในหนังสือประวัติศาสตร์ 12 ชุด เรื่อง “A Study of History” ที่เขียนขึ้นจากปี ค.ศ.1934-1960โดยเสนอว่า อารยธรรมเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์พยายามโต้ตอบการท้าทายที่สำคัญๆ ซึ่งจะเป็นการท้าทายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมอันเกิดจากมนุษย์ด้วยกันเองก็ได้ โดยทอยน์บี ได้แบ่งการท้าทายที่เป็นการกระตุ้นให้มนุษย์โต้ตอบจนเกิดเป็นอารยธรรมขึ้นออกเป็น 5 แบบซึ่งผู้เขียนได้สรุปว่าการโต้ตอบต่อการท้าทายของแต่ละสังคมนั้นเกิดขึ้นจากลักษณะประจำชาติ ซึ่งมีที่มาและหล่อหลอมจากลักษณะรูปแบบที่แตกต่างกันของสถาบันทางสังคมทั้ง 7 ซึ่งในกรณีของสังคมญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จในการตอบโต้การท้าทายจากทางมหาอำนาจตะวันตกแห่งยุคล่าอาณานิคมด้วยการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าเท่าเทียมกับทางมหาอำนาจตะวันตกทำให้สามารถรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกไปได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30