อัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ : การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธนพร ศรียากูล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ชยงการ ภมรมาศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ, ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ, การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงประจักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมในเชิงประจักษ์ ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง โดยผู้มีอำนาจหน้าที่ ด้วยวิธีวิทยาเชิงปริมาณขั้นสูง การวิเคราะห์ถดถอย การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาวด้วยวิธีของโจฮานเซน และการทดสอบความเป็นเหตุเป็นผลรายคู่ด้วยวิธีของแกรนเจอร์ การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า มีเพียงการส่งออกเท่านั้น ที่มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว ในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน กับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การกล่าวอ้างว่าการขึ้นของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จะส่งผลกระทบในทางลบ ต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการลงทุน และภาคการส่งออก จึงอาจมิใช่การบกพร่องโดยสุจริต แต่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ของกระบวนการการต่อสู้เชิงวาทกรรม ว่าด้วยความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และการกดขี่ทางชนชั้น อันเป็นรากเหง้าของปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ยังคงดำรงอยู่ในสังคมไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30