ยุทธศาสตร์ของจีนต่ออาเซียนตอนบน

ผู้แต่ง

  • ศิวพล ละอองสกุล วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์จีน, ยุทธศาสตร์สองมหาสมุทร, อาเซียนตอนบน, ระเบียงคมนาคมจีน-พม่า

บทคัดย่อ

บทความนี้จะพยายามตอบคำถามสำคัญสองประการคือ หนึ่ง จีนมียุทธศาสตร์หลักอะไรในการเชื่อมลงมายังอาเซียนตอนบน สอง จีนเชื่อมลงมาอย่างไร การเคลื่อนลงใต้ของจีนสู่อาเซียนตอนบนมีเหตุผลหลักๆ คือ หนึ่ง ต้องการพัฒนายูนนานและกวางสี  สอง การได้อาเซียนตอนบนทั้งหมดเป็นพวก จะทำให้สถานะของจีนในทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่งคงเข้มแข็ง หนักแน่นขึ้น เมื่อคำนึงถึง อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาและอินเดีย เพราะจะยึดกุมได้ทั้งสองฟากมหาสมุทร สาม อาเซียนตอนบน คือแหล่งพลังงาน แร่ธาตุที่สำคัญของจีนอีกแหล่งหนึ่ง ความใกล้ชิดกันทางภูมิศาสตร์ทำให้ต้นทุนการขนส่งพลังงาน ทรัพยากร แร่ธาตุ เข้าสู่ยุนนานและกวางสีในราคาไม่แพง จีนเคลื่อนลงมายังอาเซียนตอนบนอย่างไร เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ อาจกล่าวว่าจีนเคลื่อนลงสู่อาเซียนตอนบนโดย 3 เส้นทางหรือ 3 ปีกใหญ่ๆ ตามแนวแม่น้ำโขง คือ แนวตะวันตก แนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก 1) แนวตะวันตก จีนทำระเบียงการคมนาคมขนส่งกับพม่า (China-Myanmar Transport Corridor) 2) แนวกลางตามแม่น้ำโขง เพื่อทำอนุภูมิภาคร่วมกับพม่า ลาว ไทย เวียดนามและกัมพูชา และทำโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมคุนหมิง-สิงคโปร์ 3) แนวตะวันตก ด้วยการทำเขตเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (Pan-Beibu Gulf Economic Cooperation) อ่าวเป่ยปู้คืออ่าวตังเกี๋ยนั่นเอง เพื่อเชื่อมมณฑลชายฝั่งภาคใต้ของจีนคือ กวางตุ้ง ไหหลำและกวางสีเข้ากับเวียดนามทางทะเล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30