คุณภาพชีวิตการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัย : กรณีศึกษาบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

ผู้แต่ง

  • พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บุคลากรต่างวัย, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัยของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัยในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 4) ศึกษาคุณลักษณะของบุคลากรต่างวัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ใช้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 228 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-Test ค่า One-Way ANOVA ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ Multiple Regression Analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรต่างวัยทั้งสามกลุ่มอยู่ในระดับปานกลางและ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัยในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์สและกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์มีระดับความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มเจนเนอเรชั่นวายมีระดับความผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย ช่วงปีพ.ศ.เกิด ระดับการศึกษา อายุงาน ระดับเงินเดือน และหน่วยงานที่สังกัด แตกต่างกัน ส่วนเพศ และตำแหน่งงาน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คุณภาพชีวิตการทำงานตามปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุงาน และหน่วยงานที่สังกัดแตกต่างกัน นอกนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัยทั้งสามกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) คุณลักษณะของบุคลากรต่างวัยอย่างน้อย 1 ตัว ส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นคุณลักษณะของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์สไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-30