บทบาทของการเมืองภาคประชาชนในมาเลเซียช่วงปี พ.ศ. 2550-2555 : กรณีศึกษากลุ่มแนวร่วมเพื่อการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม กองกำลังปฏิบัติการเรียกร้องสิทธิชาวอินเดีย และองค์กรเสียงประชาชน

ผู้แต่ง

  • เฉลิมชัย โชติสุทธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเมืองมาเลเซีย, การเมืองภาคประชาชน, การชุมนุมประท้วง

บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทและการขยายตัวของการเมืองภาคประชาชนในมาเลเซียระหว่างช่วงปี พ.ศ.2550-2555 ผ่านกลุ่มกรณีศึกษา ได้แก่ แนวร่วมเพื่อการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม (Bersih) กองกำลังปฏิบัติการเรียกร้องสิทธิชาวอินเดีย (HINDRAF) และองค์กรเสียงประชาชน (SUARAM) จากการศึกษาพบว่ากลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้ส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเมืองภาคประชาชนในมาเลเซีย และประสบความสำเร็จในการสร้างบทบาทของการเมืองภาคประชาชนด้วยการชุมนุมประท้วงเพื่อเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ซึ่งเห็นได้จากประสิทธิภาพในการระดมมวลชนจากชาวมาเลเซียผู้สนับสนุนได้เป็นจำนวนมาก ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวของการเมืองภาคประชาชนในมาเลเซียประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการได้แก่การสนับสนุนจากกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายค้าน องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีความไม่พอใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลแนวร่วมแห่งชาติ การผลักดันข้อเรียกร้องทั้งที่เป็นประเด็นร่วมของทุกกลุ่มในสังคมและประเด็นเฉพาะกลุ่มการสร้างเครือข่ายกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ และการรณรงค์ข้อเรียกร้องผ่านทั้งช่องทางของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสังคมออนไลน์สมัยใหม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-28