รัฐสภาไทยกับการถอดถอน “อดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • วีรวิชญ์ เอี่ยมแสง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การถอดถอนตำแหน่ง, รัฐสภา, การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

บทคัดย่อ

“การถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” เป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองไทยเมื่อไม่นานมานี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ.2557 สามารถใช้กลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจโดยวิธีการถอดถอนตำแหน่ง เพื่อถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้สำเร็จ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่รัฐสภาสามารถถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง บทความฉบับนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษารัฐสภาในฐานะสถาบันการเมืองที่มีอำนาจตัดสินชี้ขาดการถอดถอนผู้ดำรงต่าแหน่งทางการเมืองว่ามีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์และเสริมสร้างคุณค่าในระบอบประชาธิปไตยอย่างไรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจความพยายามในการถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศไทย (2) ชี้ให้เห็นเงื่อนไขและบริบทเหตุการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลต่อการถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผลการศึกษาพบว่า เงื่อนไขและบริบททางการเมืองจากการออกแบบโครงสร้างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถใช้กลไลการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วยวิธีการถอดถอนตำแหน่งได้สำเร็จ หากแต่รัฐบาลที่มาจากระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยสามารถใช้กลไกในระบบประชาธิปไตยเพื่อถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้สำเร็จ ประกอบกับการถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลที่ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยในการสร้างเหตุผลในการรองรับโดยอาศัยกลไกตามวิธีการประชาธิปไตย ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายรัฐธรรมนูญและการเมืองไทยในการถอดถอนอดีตผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31