พฤติกรรมของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ความมั่นคงทางอาหาร, พฤติกรรมการบริโภคของประชาชน, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อพฤติกรรมการบริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนต่อระดับสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารของกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลประชากรศาสตร์ของประชาชนและพฤติกรรมการ บริโภคของประชาชน ส่งผลต่อสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมของกรุงเทพมหานคร อยู่ใน “ระดับปานกลาง” โดยมีค่าเฉลี่ยความมั่นคงเท่ากับ 1.96 และกรุงเทพมหานครได้มีการ บริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารภายใต้แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี(พ.ศ. 2556 - 2575) โดยมีเป้าหมายให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งเอเชีย ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ 1) ด้านนโยบาย 1.1) กรุงเทพมหานครควรเพิ่มโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ประชาชนทั่วไปโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามช่วงวัย และจัดทำโครงการฉลากอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice) 1.2) รัฐบาลควรให้กรุงเทพมหานครเป็นโครงการนำร่องด้านความ สะอาดและปลอดภัยของอาหารเพื่อให้มีเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ 2) ด้านบริหารกรุงเทพมหานครควรปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจ้างบุคลากรให้เหมาะสมและเพียงพอต่อการทำงาน 3) ด้านวิชาการกรุงเทพมหานครควรต้องมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหารเพื่อเตรียมรับมือกับความไม่มั่นคงทางอาหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว