การศึกษาความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการ ดาวน์ซินโดรมโดยใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ
A Study on Gross Motor Ability of Down Syndrome Children by Using Role Playing Activities
คำสำคัญ:
ความสามารถ,กล้ามเนื้อมัดใหญ่, ดาวน์ซินโดรม, บทบาทสมมติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม โดยการใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้ง คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมระดับฝึกได้ อายุระหว่าง 5-10 ปี ไม่มีความพิการซ้ำซ้อน ระดับเตรียมความพร้อม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดจันทบุรี จำนวน 3 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ในช่วงเวลา 15.00 - 15.30 น. ของทุกวัน รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนกิจกรรมบทบาทสมมติ ประกอบด้วย ท่ากระต่าย ท่าม้า ท่าจิ้งจก ท่าตั๊กแตน ท่าหมี ท่าแมงมุม และแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการทดสอบแบบ Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมที่ได้รับการสอนด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติอยู่ในระดับดี 2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญากลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม พบว่า หลังได้รับการสอนด้วยกิจกรรมบทบาทสมมติ มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่สูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ปรมพร ดอนไพรธรรม. (2550). การศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ โดยใช้กิจกรรมโยคะ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัชฏวรรณ ประพาน. (2541). การศึกษาความสามารถใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการฝึกโดยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมาคมสร้างสรรค์ไทย. (2548). การใช้บทบาทสมมติในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2535). แผนการจัดประสบการณ์ ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กองวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.
Neiswoth, John. (1982). Assessment in Apecial Educial. Rockville: Aspen Systems Corporation.