การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Development of Application for English Lesson for Grade 8 students

ผู้แต่ง

  • ณฐาภพ สมคิด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน, วิชาภาษาอังกฤษ, ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนฯ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันบทเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 2 ห้องเรียน จำนวน 49 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) แยกเป็นห้องเรียนที่เป็นนักเรียนผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี 1 ห้องเรียน จำนวน 22 คน กับห้องเรียนที่เป็นนักเรียนผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์อ่อนและปานกลาง 1 ห้องเรียนจำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชันบทเรียนฯ 2) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันบทเรียนฯ และ 4) แบบศึกษาความพึงพอใจ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/ E2) และ t-test  ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันบทเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มนักเรียน ผลการเรียนดี มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.38/84.94 และกลุ่มนักเรียนผลการเรียนอ่อนและปานกลางเท่ากับ 82.54/80.56 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) คะแนนทดสอบหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนฯ ทั้ง 2 กลุ่ม (กลุ่มนักเรียนผลการเรียนดีกับกลุ่มนักเรียนผลการเรียนอ่อนและปานกลาง) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนฯ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561) วิเคราะห์นโยบายการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_______. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยที่ 1-5.กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นคร ละลอกน้ำ. (2561, พฤษภาคม–สิงหาคม). การพัฒนาแบบจำลองการสอนแบบผสมผสานโดยใช้สื่อที่สร้างสรรค์จากผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อฝึกทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(2), 123-141.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2555). เอกสารประกอบการบรรยาย แท็บเล็ต (Tablet) กับการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21. นครปฐม: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564, สืบค้น สิงหาคม 12, 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422/.

Dembo, M. H. (1991). Applying Educational Psychology in Classroom. New York: Longman.

Martin, Barbara, et al. (1966). LessonsLearned from the Florida Teletraining Project. Florida: National Convention of the Association for Educational Communications and Techology.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of behavioral science. New York: Van Norstrand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31

How to Cite

สมคิด ณ. (2021). การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียน วิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2: Development of Application for English Lesson for Grade 8 students. Lawarath Social E-Journal, 3(2), 31–46. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/252699