การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่1 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

The Development of English Reading Skill by Using the Critical Thinking Process of First Year Students Majoring in Computer Science, Faculty of Information Technology, Thepsatri Rajabhat University

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา พันแสง
  • เบญจพร นวลประเสริฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร​์มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, กระบวนการคิดวิเคราะห์, รูปแบบการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ 2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 13 คน โดยเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผน กำหนดแผนงานและเครื่องมือวิจัย 2) สังเคราะห์และกำหนดรูปแบบกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน–หลังเรียน แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ แบบประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะการอ่าน แบบประเมินความพึงพอใจกิจกรรมกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน มีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 และผู้เรียนที่ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.50 (SD = .55)  

References

กรมวิชาการ. (2550). หลักสูตรภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จันทรา พรหมน้อย, และคณะ. (2555, ธันวาคม). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32(3), 1-12.

ถนอมจิตต์ สารอด, พีรดล เพชรานนท์, และชวนิดา สุวานิช. (2559, ธันวาคม). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาพลศึกษา ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 33(3), 39-66.

ถิรนันท์ ปานศุภวัชร. (2558). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการเรียนการสอนโครงสร้างข้อความร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นาฏนัดดา พงษ์ประดิษฐ์. (2547). การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองทางคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยความเข้าใจในการอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้เรียนระบบการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ภูมินทร์ เหลาอำนาจ. (2556, กรกฎาคม-ธันวาคม). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 15(2), 71-76.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา เศรษฐรังสรรค์. (2533). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนด้วยวิธีโคลซและการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สุนีย์ สันหมุด. (2552). ปัญหาด้านการอ่าน. สืบค้น ตุลาคม 28, 2563, จาก http://www.gotoknow.org/.

สุภาพ โสรส. (2555). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL และเทคนิค SCSS ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ผลประเมินPISA 2012. สืบค้น ตุลาคม 20, 2563, จาก http/www.nstda.or.th/nac2013/download/ presentation/Set4/SSHAuditorium-01-03/07.pdf.

Richards, J. C., & Rogers, T. S. (1991). Approaches and Methods in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.

Richek, M., & Caldwell. (1996). Reading Problems Assessment and Teaching Strategies. Boston: Allyn & Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31