การพัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

The Development of Interactive Multimedia with Active Learning about The Solar System of The Department of Science Pratomsuksa 4

ผู้แต่ง

  • ธมนวรรณ เทาศิริ Education
  • สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล

คำสำคัญ:

การเรียนรู้เชิงรุก, มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์, ระบบสุริยะ

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนเชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับ การเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลลพบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ 2) มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าเปรียบเทียบแบบรวมกลุ่ม t-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการพัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ มีประสิทธิภาพ 81.16/87.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ระดับ มากที่สุด   

References

กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ตามนโยบายลดเวลา เรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

จุฑามาศ เพิ่มพูนเจริญยศ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกผ่านห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไทรโยค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ถาวร สายสืบ. (2559). ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย. สืบค้น กันยายน 25, 2564, จาก http://www.edu.nu.ac.th/wbi/Multimediaforpresentation/index_intro.html.

ธนนันท์ อินทิตานนท์. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบโครงงานที่ส่งเสริมกระบวนการคิดแบบซินเนคติกส์ เรื่อง การเคลื่อนไหว 3 มิติ (STOP MOTION) ในรายวิชาหลักการสร้างภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ และ 3 มิติสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2560, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการ จัดการเรียนรู้. วารสารวิจัยราชมงคลกรุงเทพ, 11(1), 85-93.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). ความหมายของระบบสุริยะ. สืบค้น กันยายน 25, 2564, จาก https://dictionary.orst.go.th/.

โรงเรียนอนุบาลลพบุรี. (2561). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ลพบุรี: ผู้แต่ง.

ลีลาวดี ชนะมาร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดประสบการณ์สา หรับเด็กปฐมวัย ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมเกียรติ สรรคพงษ์. (2562). รูปแบบการส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อยกระดับคุณภาพ การศึกษาในโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุไม บิลไบ. (2557). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย โดยใช้ ADDIE Model. สืบค้น ธันวาคม 12, 2564, จาก https://drsumaibinbai.files.wordpress.com/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560– 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). ค่าสถิติพื้นฐานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้น พฤศจิกายน 16, 2562, จาก http://www.SummaryONETP6_2561.

สำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2560). การสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อดิเทพ แจ้ดนาลาว. (2562). เทคโนโลยีด้านสื่อปฏิสัมพันธ์. สืบค้น กันยายน 21, 2564, จาก https://www.spu.ac.th/uploads/contents/20161216111200.pdf.

อติพร ปานพุ่ม, และวงกต ศรีอุไร. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์บนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28

How to Cite

เทาศิริ ธ. ., & ศิริพิพัฒนกุล ส. . (2021). การพัฒนามัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ระบบสุริยะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4: The Development of Interactive Multimedia with Active Learning about The Solar System of The Department of Science Pratomsuksa 4. Lawarath Social E-Journal, 3(3), 65–80. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/255660