ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหาร จังหวัดชายแดนภาคใต้
Morale in the Operation of Personnel in the Southern Border Provinces Administrative Center
关键词:
ขวัญและกำลังใจ, การปฏิบัติงาน, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ปัจจัยในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 122 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีขวัญและกำลังใจอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ตัวงานที่ทำ การได้รับการยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบ และความสำเร็จในการทำงาน 2) ปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ นโยบายการบริหารงาน สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และเงินเดือนและค่าตอบแทน 3) ปัจจัยในการปฏิบัติงาน ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และด้านนโยบายการบริหารงาน ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
参考
กองพล วงค์จันทร์. (2559, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารนวัตกรรมการจัดการ, 4(1), 1-7.
กิติยา ขุนยศ. (2558, เมษายน-กรกฎาคม). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหาร สำนักนโยบายและแผนกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 3(3), 879-887.
จักรกฤษ ชัยเสนา. (2556). ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน สังกัดกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 8 จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ชาญสิทธิ์ วารี. (2555, กันยายน-ธันวาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(20), 109-122.
ซิดีฮามีน๊ะ ไชยมล. (2554). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดกองบังคับการตำรวจสันติบาล 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต.
เนตรนภิส เลิศเดชานนท์. (2554). ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มหิศวรณ์ ชัยเพ็ชร์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการนายทหารชั้นสัญญาบัตรสังกัดกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการทัพบก.
รุจิกาญจน์ ร่องจิก. (2558). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสังกัดศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2 จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2560). สรุปผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560. ยะลา: ผู้แต่ง.
สมบัติ ปัญญาจิรพงศ์. (2556). ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของกำลังพลชั้นประทวนพลทหาร และอาสาสมัครในพื้นที่ปฏิบัติงานของกองบัญชาการการป้องกันชายแดนจันทบุรี และตราด. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Green, S. B. (1991). How Many Subjects Dose it Take to do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: Wiley.