การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อภาพยนตร์ในรายวิชาวิถีไทยในวรรณกรรม

作者

  • ชนิตตา โชติช่วง มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

关键词:

ภาพยนตร์, วิถีไทยในวรรณกรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

摘要

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิถีไทยในวรรณกรรมโดยใช้สื่อภาพยนตร์ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในรายวิชาวิถีไทยในวรรณกรรมโดยใช้สื่อภาพยนตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทยที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ภท 2101311 รายวิชาวิถีไทยในวรรณกรรม จำนวน 53 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อภาพยนตร์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที   ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้สื่อภาพยนตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อภาพยนตร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}  = 4.66, S.D. = 0.47)

参考

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ฐานิตา ลิ่มวงศ์, และยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562, กรกฎาคม - ธันวาคม). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(2), 9 – 17.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. (2538). โสตทัศนศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยสัมพันธ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสิทธิ์ เครือแตง. (2553). ผลการใช้สื่อภาพยนตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยรัตน์ พุทธิเสน. (2553). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การอ่านจับใจความภาษาไทยที่เรียนด้วยโปรแกรมบทเรียนกับการเรียนด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2537). การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา. เอกสารประกอบการสอนสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมนึก ภัททิยธนี. (2548). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สาริน ตั้งชูรัตน์. (2545). ความคิดเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลของภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อ ความสนใจประวัติศาสตร์ไทยของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธานันท์ ชุนแจ่ม, ขวัญตา ภูริวิทยาธีระ, และปนิดา พุ่มพุทธ. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องเจตคติของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ต่อการใช้สื่อภาพยนตร์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาทางจิต. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี.

สุวิทย์ คำมณี. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยใช้สื่อภาพยนตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุสิธารา จันตาเวียง. (2553). รายงานการวิจัยเรื่องการใช้สื่อภาพยนตร์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยว. เชียงราย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย.

Kuder, G. F., &Richardson, M. W. (1937, September). The Theory of The Estimation of Test Reliability. Psychometrika, 2, 151-160.

##submission.downloads##

已出版

2023-08-28

##submission.howToCite##

โชติช่วง ช. (2023). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้สื่อภาพยนตร์ในรายวิชาวิถีไทยในวรรณกรรม. Lawarath Social E-Journal, 5(2), 23–36. 取读于 从 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/263386