กรอบแนวคิดการออกแบบสื่อเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

作者

  • สิริกัญญา มณีนิล สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จิราพร ว่องไววิริยะ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สมัครสมร ภักดีเทวา สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

关键词:

เอกสารการสอน, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

摘要

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินกรอบแนวคิดการออกแบบเอกสารการสอน โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านเกษตรศาสตร์ จำนวน 9 ท่าน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบประเมินกรอบแนวคิดการออกแบบสื่อเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน การวิจัยในครั้งนี้ใช้ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

   ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษากรอบแนวคิดการออกแบบสื่อเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานฯ จากการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า กรอบแนวคิดการออกแบบสื่อเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ประกอบด้วย เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) และเอกสารการสอนระดับปริญญาตรี มสธ. ซึ่งทั้งสามส่วนนี้นำไปสู่การออกแบบสื่อเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และ 2. ผลการประเมินและรับรองกรอบแนวคิด พบว่า กรอบแนวคิดการออกแบบเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานฯ มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.67

参考

ใจทิพย์ ณ สงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนแนวดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐญา นาคะสันต์, และศุภรางค์ เรืองวานิช. (2559, พฤษภาคม–สิงหาคม). Augmented Reality: เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(2), 33-50.

นัฐญภรณ์ เลิศอนรรฆภัณฑ์ (2561). เทคโนโลยี Blockchain AR, VR และ AI นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาเข้าสู่ระบบการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2561, 119-129. สืบค้น กุมภาพันธ์ 23, 2566, จาก http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2125.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประกิต ทวนธง, และสุดากาญจน์ ปัทมดิลก. (2564, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเรื่องไวยากรณ์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 7(3), 263-276.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2561). ระบบการเรียนการสอนทางไกล. สืบค้น กุมภาพันธ์ 18, 2566, จาก https://www.stou.ac.th/main/StouPlan.html.

สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านโมบายเลิร์นนิงตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับวิธีการสอนแบบโฟนิกส์ เพื่อเสริมสร้างทักษะการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง. สืบค้น กุมภาพันธ์ 23, 2566, จาก https://www.okmd.or.th/upload/documents/BBL_synopsis10th_book.pdf.

Arun, D., &Singaravelu, G. (2018, September). Brain-Based Learning: A Tool for Meaningful Learning in The Classroom. International Journal of Research, 7(9), 766-771.

Dynamics 365. (2023). ความเป็นจริงเสริมหรือ AR คืออะไร. Retrieved February 18, 2023, from https://dynamics.microsoft.com/th-th/mixed-reality/guides/what-is-augmented-reality-ar/.

Georgiadou, Elissavet, &Margaritopoulos, Merkourios. (2019, April). The Application of Augmented Reality in Print Media. J. Print Media Technol. Res, 8(1), 43-55.

Jensen, E. (2008). Brain Based Learning the New Paradigm of Teaching (2nd ed.). California: Corwin Press.

Liu, Y., Sathishkumar V., &Manickam V. (2022, April) Augmented Reality Technology Based on School Physical Education Training. Computers and Electrical Engineering, 49(99), 1-12.

Mekarina, M., &Ningsih, Y. P. (2017, May). The Effects of Brain Based Learning Approach on Motivation and Students Achievement in Mathematics Learning. Journal of Physics: Conference Series, 895, 1-6.

Saidin, Nor, &Abd halim, Noor, &Yahaya, Noraffandy. (2015, June) A Review of Research on Augmented Reality in Education: Advantages and Applications. International Education Studies, 8(13), 1-8.

Virtual Reality Society. (2019). Augmented Reality – What is it?. Retrieved February 18, 2023, from https://www.vrs.org.uk/augmented-reality/.

Yildiz, Ezgi. (2021, August). Augmented Reality Research and Applications in Education. IntechOpen, (99356), 1-15. Retrieved February 23, 2023, from https://www.intechopen.com/chapters/78230.

##submission.downloads##

已出版

2023-12-29

##submission.howToCite##

มณีนิล ส., ชื่นสมบัติ ส. ., ว่องไววิริยะ จ., & ภักดีเทวา ส. (2023). กรอบแนวคิดการออกแบบสื่อเอกสารการสอนโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมตามหลักการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. Lawarath Social E-Journal, 5(3), 165–184. 取读于 从 https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/264678