การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการรู้เท่าทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • ยรรยง ลันลอด มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน, การรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา, นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน ตามเกณฑ์ 80/80 2. ศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน 3. ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน 4. ศึกษาเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของสาขาวิชาภาษาไทย และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดเจตคติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

          ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน  มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.61/81.06 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานเท่ากับ 0.6216 โดยนักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.16 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. เจตคติของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงานอยู่ในระดับมาก  

References

ชวิศา กลิ่นจันทร์. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของบลูม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชัยภัทร เทศแย้ม, สุดารัตน์ แผนไธสง, และจักรพงษ์ วารี. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 1-16.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2547). การออกแบบและการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณรงค์ กาญจนะ. (2540). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น. สงขลา: โปรแกรมวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

นันทวรรณ แก้วโชติ. (2566). วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม (Committee Work Method). สืบค้น เมษายน 26, 2566, จาก http://064winitakaeokham.blogspot.com/.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116,ตอนที่ 74 ก. หน้า 1-23.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธี และเทคนิค การสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

พิสณุ ฟองศรี. (2550). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: บริษัทพรอพเพอร์ตี้พรินท์ จำกัด.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.

มุกดามณี ศรีพงษ์เพริศ. (2561). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อนัญญา บุญมาก, เกษรัตน์ เคยการ, และจักรพงษ์ วารี. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่ององค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ด้วยสื่อโมชันกราฟิกร่วมกับวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 1(2), 17-33.

อุบลศรี อุบลสวัสดิ์. (2561). รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการกลุ่มวิชาภาษาไทยเพื่อการนำเสนอของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Seemalanon1212, นามแฝง. (2013). ทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม. สืบค้น เมษายน 27, 2566, จาก https://shorturl.asia/BpsjF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

How to Cite

ลันลอด ย. . (2023). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนรู้รายวิชาการรู้เท่าทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยใช้วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยและสาขาวิชาภาษาอังกฤษ. Lawarath Social E-Journal, 5(3), 23–38. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawarathjo/article/view/265438