การศึกษาความสามารถในการสบตาของเด็กออทิสติกระดับชั้นปฐมวัยจากการใช้ขบวนการผสมผสานการรับความรู้สึกร่วมกับการเสริมแรงทางบวก

การศึกษาความสามารถในการสบตาของเด็กออทิสติกระดับชั้นปฐมวัยจากการใช้ขบวนการผสมผสานการรับความรู้สึกร่วมกับการเสริมแรงทางบวก

ผู้แต่ง

  • จิรประภา ทองอ่อน

คำสำคัญ:

การสบตา, เด็กออทิสติก, การผสมผสาน, การเสริมแรงทางบวก

บทคัดย่อ

กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กออทิสติกอายุ 6 ปี  กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ โดยได้รับการวินิฉัยจากแพทย์ว่าเป็นเด็กออทิสติกมีปัญหาในเรื่องการสบตา จำนวน 1 คนประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กออทิสติก ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นเด็กออทิสติก ซึ่งศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลบ้านพลอยภูมิ จำนวน 24 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 (สำรวจเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสังเกตและบันทึกพฤติกรรมวัดความสามารถในการสบตา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะเส้นฐาน (A1) มีค่าความถี่ของพฤติกรรมการสบตาตามแผนการทดลองการจัดกิจกรรมการผสมผสานการรับรู้ความรู้สึกในระยะเส้นฐาน (A1) จำนวน 6 ครั้ง มีความถี่ ดังนี้ 6, 8, 7, 5, 8 และ 7  2) ระยะทดลอง (B) เป็นระยะที่ใช้กิจกรรมการเสริมแรงทางบวก พบว่า พฤติกรรมการสบตาเพิ่มขึ้นกว่าในระยะเส้นฐาน (A1) โดยความถี่ของพฤติกรรมการสบตาตามแผนการทดลองการจัดกิจกรรมการผสมผสานการรับรู้ความรู้สึกในระยะทดลอง (B) จำนวน 25 ครั้ง มีความถี่ ดังนี้ 15, 17, 14, 16, 14, 15, 18, 14, 15, 16, 15, 17, 14, 18, 15, 16, 19, 16, 17, 15, 16, 20, 17, 17 และ 18  3) ระยะหยุดหยั้ง (A2) เป็นระยะที่กลับไปใช้กระบวนการเช่นเดียวกับระยะเส้นฐาน (A1) คือ หยุดการใช้กิจกรรมการเสริมแรงทางบวก พบว่า พฤติกรรมการสบตา มีค่าความถี่ลดลงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบในระยะทดลอง (B) จำนวน 6 ครั้ง มีความถี่ ดังนี้ 13, 14, 16, 15, 13 และ 14

References

เย็น ธีรพัฒน์ชัย. (2541). การเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวในชั้นเรียนของเด็กออทิสติกโดยวิธีการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถในการทำแบบฝึกหัด วิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิราพร ศรีเจริญกาญจน์. (2549). แนวทางการแก้ไขพฤติกรรมออทิสซึม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วินัดดา ปิยะศิลป์. (2537). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: แปลนพับลิชชิ่ง.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining simple size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30