ประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ จังหวัดราชบุรี
ประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของ จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี (2) ศึกษาศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานด้านการปราบปราม ป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดราชบุรี จากทั้งหมด 8 แห่ง จำนวน 146 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษา พบว่า (1) ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมและรายด้าน มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านการป้องกันยาเสพติด ด้านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และด้านการปราบปรามยาเสพติด (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านทรัพยากรของนโยบาย ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม ด้านการสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติ และด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (3) ปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในภาพรวม ด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านการสื่อสารระหว่างองค์การและกิจกรรมการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านคุณลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ และด้านความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติ มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านทรัพยากรของนโยบาย และด้านสภาพเศรษฐกิจ สังคม มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ ประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของจังหวัดราชบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-60 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปวช./ปวส. ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงาน/ระดับปฏิบัติการ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการปราบปรามยาเสพติด
References
กานต์ชนก แก้วกระจาย. (2556). การนำนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ กรณีศึกษา เรือนจำกลางเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
จารุจน์ฤทธิไกร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนานโยบายการจัดการแก้ปัญหาการป้องกันการแพร่ระบาดและปราบปรามยาเสพติดในสถาบันอุดมศึกษาไปปฏิบัติในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 6(2), 80-93.
ชัยฤทธิ์ ศรีวารีรัตน์ (2556) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขยาเสพติด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรังสิต.
ทานตะวัน ชื่นเกสร. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติของตำรวจกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประจัน มณีนิล. (2529:29). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษของผู้กระทำความผิดที่เป็นชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประมุกด์ มีสุข. (2558). ประสิทธิผลการนานโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติกรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
พัฒน์ธนธร ตันติเวชยานนท์. (2556). ประสิทธิผลของนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดนแม่น้ำโขง. วารสารบัณฑิตศึกษา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 105-117.
รัชพล ห้องแซง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ ของข้าราชการตำรวจกองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม.
รัศมี นาคโชติ. (2558). ความคิดเห็นของกำนันและผู้ใหญ่บ้านต่อการนำนโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา ที่ทำการปกครองอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558-2562.กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด.(2561). การป้องกันละแก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่น.
อธิพงษ์ตันศิริ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดศึกษากรณี อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยบูรพา.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research 26(3), 499-510.
Van Meter, D. S., and Van Horn, C. E. (1975).Policy and politics in American Governments. Administration & Society. 6(4), 445-488.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ