การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้ กับการคิดแบบหมวกหกใบ

การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้ กับการคิดแบบหมวกหกใบ

ผู้แต่ง

  • อภิญญา วิเชียรรัตน์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, การสอนแบบสรรค์สร้างความรู้, การสอนการคิดแบบหมวกหกใบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) พฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนการคิดแบบหมวกหกใบ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) พฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้กับการสอนการคิดแบบหมวกหกใบ และ 4) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้กับการสอนการคิดแบบหมวกหกใบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน ทั้งหมด 60 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 ใช้การสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากห้องเรียนจาก 3 ห้อง สุ่มมา 2 ห้อง ได้ห้องมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 30 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 2 สุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลากสุ่มวิธีสอน ห้องมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ได้วิธีสอนแบบสรรค์สร้างความรู้ และห้องมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ได้การสอนการคิดแบบหมวกหกใบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การคิดแบบหมวกหกใบ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีค่าความเชื่อมั่น 0.794 และ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.899 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนการคิดแบบหมวกหกใบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พฤติกรรมการบริโภค เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้สูงกว่าการสอนการคิดแบบหมวกหกใบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสรรค์สร้างความรู้สูงกว่าการสอนการคิดแบบหมวกหกใบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

จริยา ภูสีฤทธิ์. (2550). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดของ John Dewey. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จันทร์ญา พุ่มขุน. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลก กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบสรรค์สร้างความรู้กับวิธีสอนการคิดแบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

จารุวรรณ จูมวงษ์. (2552). ผลการสอนโดยใช้คำถามตามแนวคิดแบบหมวกหกใบที่มีผลต่อความสามารถการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: แดเน็กช์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2554). โรคอ้วนในเด็กวัยเรียนจากอณูสู่ชุมชน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการทักษะการคิด และการสรรค์สร้างความรู้ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ปัทมา เต่าให้. (2549). การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พจนา ทรัพย์สมาน. (2550). การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ ศรีสุนาครัว. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism และแนวคิด Socioscientific. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

ไพจิตร์ วราชิต. (2553). คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. จังหวัดนนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหาร

ผ่านศึก.

รัตนา สุขศรี. (2551). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี. (2557). รายงานผลการประเมินคุณภาพ (สมศ.) วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี สังกัดกระทรวงวัฒนธรรมรอบ 3. สุพรรณบุรี : วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี.

วโรดม จันที. (2553). การศึกษาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์ของ YAGER. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 7). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วาสน์ กรมจรรยา. (2553). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศักดา เดชมา. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2557). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา (O-net) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557. สืบค้น มิถุนายน 3, 2557 จาก http://www.onetresult.niets. or.th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์, และพรรณี สินธพานนท์. (2552). พัฒนาทักษะการคิด พิชิตการสอน(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

สุภิญญา อินอิว. (2556). พฤติกรรมการบริโภคในวัยรุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2541). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรสา สนธิ. (2553). การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Edward de Bono. (1992). Six Think Hats. England: Penguin Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย