ผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรม, พัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟัง-พูดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิเศษไชยชาญ “ตันติวิทยาภูมิ” อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 39 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทอง 2) แบบทดสอบวัดทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษโดยแยกการทดสอบทักษะการพูดเป็นแบบประเมินทักษะการพูดซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.798 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อชุดกิจกรรมซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.802 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมเรื่องผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์(E2 ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 76.97/76.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมเรื่องผลการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อมูลท้องถิ่นอ่างทองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรอบกาญจน์ วงศ์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เคลือวัลย์ ดวงพร. (2556). การใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้งานปฏิบัติ
เป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถในการสื่อสารแบบเน้นบริบท ท้องถิ่น ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสุรินทร์.
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประวัติศาสตร์จังหวัดอ่างทอง. (2554). อ่างทอง: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์และคนอื่นๆ. (2531). กระบวนการผลิตชุดการสอนแผนจุฬาฯ. กรุงเทพฯ:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จำรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ:
เฮ้า ออฟเดอร์มีส.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าท์ ออฟ เคอร์มีสท์.
พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่.
กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
มาลี แสงดอกไม้. (2542). ศาสน์และศิลป์ : ภูมิปัญญาพื้นถิ่นเมืองอ่างทอง. กรุงเทพฯ:
องค์การค้าของคุรุสภา.
ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ. (ม.ป.ป.). วัฒนธรรมไทยในตุ๊กตา[แผ่นพับ].
สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.). คู่มือการจัดการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษแนวใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2539). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุวิทย์ มูลคำ, และอรทัย มูลคำ (2545). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม ค่านิยมและการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
. (2550). การพัฒนาผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทย- ฐานะ. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2555). ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยในอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2558,
จาก http://blog.eduzones.com/wigi/81880.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนะนำ ASEAN Curriculum Sourcebook:
ASEAN COMMUNITY 2015. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
อุทุมพร จามรมาน. (2545). การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตร
ท้องถิ่นสู่การสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พื้นที่.
Crystal, David. (1997). English as Global Language. Cambridge: Cambridge University Press.
Richards, Jack C. (2008). Teaching Listening and Speaking from Theory to Practice.
Cambridge: Cambridge University Press.
Tavares, R., and I.Cavalcanti. (1996). “Developing Cultureral Awareness in EFL
Classrooms.”. English Teaching Forum 34, 3-4 (July-October): 18-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ