การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและชนิดของแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและชนิดของแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ยุทธ ศรีบุญมี

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 4) เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2559  ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม  โดยการจับสลาก  ได้กลุ่มทดลองที่ 1 จำนวน  23  คน ใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มทดลองที่ 2 จำนวน  25  คน ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  1) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.889  4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.899 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ไม่แตกต่างกัน 4.  เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและชนิดของแรง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้น มกราคม 14,

, จากhttps://drive.google.com/file/d/0Bza8voFmdFsrRGlYbmdPa0pkXzg/view

เกศสุดา แพรวกลาง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบเทคนิค 4 MAT. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยวัฒน์ สุทธิรักษ์. (2553). 80 นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ, ยศวี สายฟ้า. (2559). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย”. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่

มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์.

บุษราคัม บุญกลาง. (2558, เมษายน-มิถุนายน). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 104-105.

ประถมพร โคตา. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้และการเขียนผังมโนมติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปิยะมาศ อาจหาญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพศาล สุวรรณน้อย. ( ม.ป.ป). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning: PBL). สืบค้น มกราคม 18, 2560, จากhttp://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.

ราม ติวารี. (2556, มกราคม-กุมภาพันธ์). ฟิสิกส์เชิงทดลอง (Experimental Physics) กับการ

ยกระดับการศึกษาฟิสิกส์. สสวท, 41(180), 7-8.

รุ่ง แก้วแดง. (2540). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน อ้างถึงในทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด Thinking Skills Instructional Models and Strategies (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลวรรณ พงษ์ชุบ. (2553). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกับแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศรารัตน์ มุลอามาตย์. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2558). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2558. สืบค้น มกราคม 18, 2560, จากhttp://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6

_2558.pdf.

สุภัทราภรณ์ เบ็ญจวรรณ์. (2554) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปาและการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย