การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • อัมพร วรรชะนะ

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม, ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ประเมินผลการใช้หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสามชุกรัตนโภคาราม จำนวน  30 คน  ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง   ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช มีค่าความเชื่อมั่น 0.706  3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติกิจกรรมการทำข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช และ 4) แบบวัดเจตคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช มีค่าความเชื่อมั่น 0.940 วิเคราะห์ข้อมูล โดยหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตรสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช ประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหา เวลาเรียน สื่อการเรียนรู้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล หลักสูตรมีคุณภาพเหมาะสมการนำไปใช้จัดการเรียนการสอน 2. การประเมินผลการใช้หลักสูตร พบว่า 2.1  ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.2  ทักษะในการปฏิบัติการทำข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก  2.3  เจคคติต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ห่อใบบัวธัญพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก  2.4  มีการปรับปรุงหลักสูตรในด้านระยะเวลา กิจกรรม และเนื้อหาให้เหมาะสม

References

พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
จริญญา ไศลบาท, ปริญญา ทองสอน และวิชิต สุรัตน์เรืองชัย (2556). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเขาหิน ตามแนวทฤษฏีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 7(1).
ทวิช ลักษณ์สง่า. (2557). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการศึกษาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.
รุ่งโรจน์ ประพฤติดี. (2559). ผู้ประกอบการร้านหรั่งศรีโรจน์ข้าวห่อใบบัว ในตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี. สัมภาษณ์.
รัตนชนก เมืองเชียงหวาน. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูล
ท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรุณลักษณ์ อ่อนวิมล. (2560). คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์. สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย