การจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ เพื่อเสริมสร้างความกล้าแสดงออกของเด็กและเยาวชน ในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54
การจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ เพื่อเสริมสร้างความกล้าแสดงออกของเด็กและเยาวชน ในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54
คำสำคัญ:
การจัดกิจกรรม, ร้อง เล่น เต้น รำบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความกล้าแสดงออกของเด็กและเยาวชนโดยผ่านกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สมัครด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความกล้าแสดงออกโดยรวมของเด็กและเยาวชนในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ มีการเปลี่ยนไปในทิศทางที่เพิ่มขึ้นในระดับมากที่สุด 2. ระดับความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนในชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมร้อง เล่น เต้น รำ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเห็นว่ากิจกรรมทำให้ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 92.60 รองลงมา คือ มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 92.00 รัก ศรัทธา และต้องการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 91.40 ได้พบปะ พูด คุย และเล่นกับเพื่อน ๆ และมีความสนิทสนมกับเพื่อน ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมและครูผู้สอนมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.40 มีความสุขเพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 89.00 ได้ผ่อนคลายจากการเรียน ได้ฝึกร้องเพลง เต้นและ รำ ซึ่งสามารถนาไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตจริงได้ คิดเป็นร้อยละ 88.00 และมีความรู้เกี่ยวกับการขับร้อง การเต้น และการร่ายรำ เพิ่มมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 87.40 ตามลำดับ
References
แห่งชาติ ฉบับ ที่ 2 พ.ศ.2560 – 2564. กรุงเทพฯ : กรมกิจการเด็กและเยาวชน.
ธเนตร ตัญญวงศ์. (2554). ผลของกิจกรรมนันทนาการเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของ เด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์บ้านแกร์ด้า จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขา การจัดการนันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล สมัตถะ. (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ชุมชนตำบลวังทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การ พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
บุญศิริ นิยมทัศน์. (2561). การจัดกิจกรรม ร้อง เล่น เต้น รำ สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชน ศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
แพง พิมพรภิรมย์. (2553). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมกล้าแสดงออกของ
เด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัย
ราชภัฏราชนครินทร์.
วัชพล หาญยอดสุธา. (2559). การพัฒนาพฤติกรรมความกล้าแสดงออกของนักเรียนด้วยกิจกรรม ดนตรี. เข้าถึงได้จาก https://academic.prc.ac.th/.
วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2561). รายงานผลการบริการวิชาการแก่ชุมชน และสังคม โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความ เข้มแข็งชุมชนริมคลองลาดพร้าว (ชุมชนศาลเจ้าพ่อสมบุญ 54). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อเด็กและผู้มีความต้องการพิเศษ. (2560). สิทธิเด็กและการ
วางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรสจำกัด. ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญ
พัฒน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ