การพัฒนาการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

การพัฒนาการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ทองแห้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะ ทักษะการจำ อักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว

บทคัดย่อ

การเรียนรู้อักษรจีนถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่จำเป็นสำหรับการเรียนภาษาจีน แต่เนื่องจากอักษรจีนเป็นอักษรที่มีเส้นขีดจำนวนมาก มีวิธีการสร้างตัวอักษรที่หลากหลาย มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน และมีหลักการเขียนที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียนภาษาจีนส่วนใหญ่มีความคิดว่าตัวอักษรจีนนั้นเขียนยาก เรียนรู้ยาก และจำยาก  ทั้งนี้ผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดและสนใจที่จะศึกษาแนวทาง นวัตกรรมหรือเทคนิคต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจำอักษรจีนของผู้เรียน ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยการพัฒนาการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว ในรายวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอักษรจีน  และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน จำนวน 24 คน  เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำชุดฝึกทักษะการจำอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยวจำนวน 5  ชุด  แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการจำอักษรจีน แบบโครงสร้างอักษรเดี่ยว แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านการจำอักษรจีน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว มาดำเนินการวิจัย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสูตรสถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ ( T-test แบบ one sample test ) จากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีทักษะการจำอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยวดีขึ้น สามารถเขียนตัวอักษรจีนได้อย่างถูกต้องตามหลักการเขียน รวมถึงสามารถบอกความหมายและที่มาของตัวอักษรจีนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาภายหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยวสูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อฝึกทักษะการเขียนอักษรจีนโครงสร้างอักษรเดี่ยว ถึงร้อยละ 93.8 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จาง จิ้ง . (2552). ไม่ยาก...จดจำอักษรจีน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
นภัสสร พรหมทา. (2560). การพัฒนาทักษะการเขียนตัวอักษรจีนโดยใช้แบบฝึกเขียนตัวอักษร และการ 听写 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีตระกูลวิทยา.
หลี่ หยาง. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนตัวอักษรจีนสำหรับนักเรียนชนมัธยมศึกษาปีที่ 4 . นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เหยิน จิ่งเหวิน.(2558). รอบรู้ภาษาจีน : จุ๊กจิ๊กจอจีน เล่ม 1 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. นนทบุรี. สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30